หน้าเว็บ

follow me

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วอลเลย์บอล


กติกา

        พื้นที่เล่นลูก รวมถึงสนามแข่งขันและเขตรอบสนาม พื้นที่เลนลูกต้องเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้าและเหมือนกันทุกส่วน

1.1 ขนาดของสนาม (Dimension)
      สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 x 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนาม กว้างอย่างน้อยที่สุด 3เมตร
ทุกด้านที่ว่างสำหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มี สิ่งใดกีดขวาง สูงขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 7 เมตร จากพื้นสนาม สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5 เมตร จากเส้นข้าง 8 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่างสำหรับเล่นลูกต้องสูงจาก
พื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร

1.2 พื้นผิวสนาม (PLAYING SURFACE)
1.2.1 พื้นผิวสนามต้องเรียบ เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาต
ิและการแข่งขันอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นผิวสนามที่เป็นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น พื้นผิวสนาม
อื่นใด ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลก่อนทั้งสิ้น
1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีสว่างสำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพื้นสนามแข่งขันและบริเวณเขตรอบสนามต้องเป็นสีแตกต่างกันออกไป
1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายน้ำ ห้ามใช้ของแข็งทำเส้นสนาม

1.3 เส้นบนพื้นสนาม (LINES ON THE COURT)
1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนามและเส้นอื่น 
1.3.2 เส้นเขตสนาม เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้น เป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขัน เส้นทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายในเขตของสนามแข่งขัน
1.3.3 เส้นแบ่งแดน กึ่งกลางเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ขนาด 9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้างอีกดานหนึ่งใต้ตาข่าย
1.3.4 เส้นรุก แต่ละแดนของสนามจะมีเส้นรุกซึ่งริมสุดด้านนอกของเส้นจะขีดห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนเมตร เป็นเครื่องหมายของเขตรุก สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นรุกจะถูกขีดต่อออกไปจากเส้นข้างทั้ง 2 เส้น เป็นเส้นประ กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ 15เซนติเมตร 5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้นไว้ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมยาวข้างละ 1.75 เมตร

1.4 เขตและพื้นที่ต่าง ๆ (Zone And Areas)
1.4.1 เขตรุก เขตรุกของแต่ละแดนจะถูกกำหนดจากึ่งกลางของเส้นแบ่งเขตแดน ไปจนถึงริมสุดด้านนอกของเส้นรุก
เขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวจากเส้นทั้งสองไปจนถึงริมสุดของเขตรอบสนาม
1.4.2 เขตเสิร์ฟ เขตเสิร์ฟมีพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไป
เส้นขนานสั้น ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร เป็นเส้นกำหนดเขตเสิร์ฟ เส้นทั้งสองนี้จะตีห่างจากเส้นหลัง 20เซนติเมตร เหมือนกับแนวต่อจากเส้นข้าง และรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วย
ในแนวลึก เขตเสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม
1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว คือ เขตที่อยู่ภายในแนวของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึกการแข่งขัน
1.4.4 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ พื้นที่อบอุ่นร่างกายขนาด 3 x 3 เมตร จะอยู่ที่นอกเขตรอบสนามตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นสำรอง
1.4.5 พื้นที่ทำโทษ พื้นที่ทำโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัวอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน(CONTROL AREA) แต่อยู่เลยแนวของเส้นหลังและมีเส้นแดงกว้าง 5 เซนติเมตร กำหนดพื้นที่

1.5 อุณหภูมิ (TEMPERATURE)
อุณหภูมิต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แสงสว่างบนพื้นที่เล่นลูกต้องมีความสว่าง 1,000 – 1,500 ลักซ์ โดยวัดที่ระดับความสูงจากพื้นสนาม 1 เมตร

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjibzx-M4dggkrYungPSxiWsPuKRJxEKBwQ-7qtuDMVqC8HBLFF-TjqVhTvm3O4uoq2VpiZCduhBb84DC3-MXoYQn34XEION5Q4VJ4ICF6jExKl0CnzmE3NKGz3e07K0aeXei32VrSZjQ/s400/%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E13.jpg

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgap_eujrnwK3uILMIdUorAqq4h1trroDyeFlM2cP53bXrOafe-0d36kOgR-u7kvWTGCmPbZDiH3qHokEeSLJzyfroCskF3hSVIkDw9GJBfp8oguYa2eRW9xbU9xtGE_bywkDI7SvrzzQ/s400/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E14.jpg

๑. ผู้ตัดสินที่ ๑
๒. ผู้ตัดสินที่ ๒
๓. โต๊ะผู้บันทึก ผู้จับเวลา ผู้กดป้ายคะแนน
๔. โต๊ะที่นั่งสำหรับผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ฯลฯ
๕. ผู้กำกับเส้น
๖. ผู้เก็บบอล
๗. เขตอบอุ่นร่างกายของผู้เล่นสำรอ

2.1 ความสูงของตาข่าย (HEIGHT OF THE NET)
2.1.1 ตาข่าย ขึงเป็นแนวตั้งเหนือเส้นเบ่งแดน สำหรับทีมชาย ขอบบนสุดต้องสูงจากพื้นที่ 2.43 เมตร ทีมหญิง2.24
เมตร
2.1.2 ความสูงของตาข่าย วัดที่กึ่งกลางของสนามความสูงของตาข่าย (เหนือเส้นทั้งสอง) ต้องสูงเท่ากัน
แต่จะสูงเกินกว่าความสูงที่กำหนด 2 เซนติเมตรไม่ได้

2.2 โครงสร้าง (STRUCTURE)
ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50 ถึง 10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่ 25 ถึง 50 เซนติเมตร จากแถบข้างแต่ละด้าน) ทำด้วยวัสดุสีดำ เป็นตาสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 10 เซนติเมตร ที่ขอบบนของตาข่าย
มีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาว กว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้าง
เจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึง ตาข่ายดึงให้แถบบนสุดของตาข่ายตึง ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่น
ได้สำหรับผูกกับเสา เพื่อทำให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึง ที่ตาข่ายด้านล่างมีแถบขนานกับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตร
ภายในแถบมีสายที่หยืดหยุ่นได้สำหรับผูกกับเสาเพื่อให้ส่วนล่างของตาข่ายตึง

2.3 แถบข้าง (SIDE BANDS)
แถบสีขาว 2 เส้น ผูกในแนวตั้งกับตาข่ายเหนือทั้ง 2 เส้น แถบข้างกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย

2.4 เสาอากาศ (ANTENNAE)
เสาอากาศเป็นแท่งกลมยืดหยุ่นได้ ยาว 1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทำด้วยใยแก้วหรือวัสดุที่คล้ายคลึง
กันเสาอากาศแต่ละต้นถูกยึดติดอยู่ที่ริมด้านนอกของแถบข้างทั้งสอง แต่อยู่คนละด้านของตาข่าย ส่วนบนสุดของเสา
อากาศ ถือเป็นสีสลับกันเป็นช่วง ๆ ยาวช่องละ 10 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วนิยมใช้สีแดงและขาว เสาอากาศถือเป็น
ส่วนหนึ่ง ของตาข่าย เป็นแนวขนานที่กำหนดพื้นที่ข้ามตาข่าย

2.5 เสาขึงตาข่าย (POSTS)
2.5.1 เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 0.50 – 1.00 เมตร มีความสูง 2.55 เมตร สามารถปรับ
ระดับได้ สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เสาขึง
ตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร เว้นแต่ว่า ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
2.5.2 เสาขึงตาข่ายมีลักษณะกลมและเรียบ ยึดติดกับพื้นโดยไม่มีสายยึดเสาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย
และไม่เป็นสิ่งกีดขวางใด ๆ

2.6 อุปกรณ์อื่น ๆ (ADDITIONAL EQUIPMENT)
อุปกรณ์อื่นใดให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามระเบียบของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
3.1 มาตรฐาน (STANDARD)
ลูกบอลต้องกลม ทำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอลทรงกลมที่ทำด้วยยาง หรือวัสดุ
ที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อน ๆ เหมือนกันทั้งลูก หรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ ลูกบอลซึ่งทำด้วย
วัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐาน
ตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติกำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 260 – 280 กรัม

3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS)
ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง น้ำหนัก แรงอัด ชนิดและสีตามาตรฐานเดียวกัน การแข่งขันระดับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้อง
ใช้ลูกบอลที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

3.3 ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก (THREE – BALL SYSTEM)
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งบอล 6 คน ประจำที่มุมของเขตรอบสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และข้างหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
4.1 ส่วนประกอบของทีม (TEAM COMPOSITION)
4.1.1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1คน และแพทย์ 1คน
สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ต้องขึ้นทะเบียน
กับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อนการแข่งขัน
4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ (LIBERO PLAYER) ต้องเป็นหัวหน้าทีมและจะระบุไว้ในใบบันทึกการแข่งขัน
4.1.3 ผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในใบบันบันทึกการแข่งขันเท่านั้นจึงจะลงสนามและร่วมการแข่งขันได้ เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นอีกไม่ได้

4.2 ตำแหน่งที่อยู่ของทีม (LOCATION OF THE TEAM)
4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งม้านั่งหรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่น
ต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งเป็นครั้งคราว ม้านั่งของทีมตั้งอยู่ข้าง ๆ โต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม
4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งม้านั่งระหว่างการแข่งขันและร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน
4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช่ลุกบอลได้ดังนี้
4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขันในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย
4.2.3.2 ระหว่างขอเวลานอกและเวลาเทคนิคในเขตรอบสนามด้านหลังแดนของทีมตนเอง
4.2.4 ช่วงพักระหว่างเชต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอลได้ในเขตรอบสนามของทีมตนเอง

4.3 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT)
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอยด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน) และรองเท้า
4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และถุงเท้าต้อง เหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ LIBERO PLAYER) และสะอาด
4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือหนังไม่มีส้น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการในรุ่นที่ไม่กำจัดอายุสีรองเท้าต้องเป็นสีเดียวกันทั้งทีม แต่เครื่องหมาย
การค้าอาจมีสีแตกต่างกันได้ เสื้อและกางเกงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีเครื่องหมาย 1 – 18
4.3.3.1 ต้องติดเครื่องที่กลางอกและกลางหลังสีของเครื่องหมายเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลังอย่างน้อยที่สุด 20 เซนติเมตร และความกว้างของแถบที่ทำหมายเลข ต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 1 เซนติเมตร
4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบยาว 8 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขตรงอกเสื้อ
4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้อง หรือชุที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น

4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (CHANGE OF EQUIPMENT)
ผู้ตัดสินคนที่ 1 มีอำนาจที่จะให้ผู้เล่น 1 คน หรือมากกว่า
4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่สวมรองเท้าก็ได้
4.4.2 เปลี่ยนชุดที่เปียกช่วงพักระหว่างเชต หรือหลังจากการเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนับชุดเดิม
4.4.3 สวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้ ถ้าอากาศหนาว ถ้าสีและแบบของชุควอร์ม
เหมือนกันทั้งทีม และหมายเลขต้องเป็นไปตามปกติ
4.5 สิ่งที่ห้ามสวมใส่ (FORBIDDEN OBJECTS)
4.5.1 ห้ามสวมใส่สิ่งของซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น
4.5.2 ผู้เล่นอาจสวมแว่นตาหรือคอนเทคเลนซ์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
ทั้งหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอนเป็นผผู้รับผิดชอบความประพฤติและระเบียบวินัยของผู้ร่วมทีม
ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีมไม่ได้
5.1 หัวหน้าทีม (CAPTAIN)
5.1.1 ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าทีมเป็นผู้ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันและเป็นผู้แทนของทีมในการเสี่ยง
5.1.2 ระหว่างการแข่งขันและขณะอยู่ในสนามแข่งขันหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ผู้นำในการแข่งขัน เมื่อหัวหน้าทีมไม่ได้เล่นอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมต้องแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งที่อยู่ในสนาม แต่ต้องไม่ไช่
ตัวรับอิสระ ทำหน้าที่หัวหน้าทีมในการแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และต้องรับผิดชอบไปจนกว่าหัวหน้าทีม
(TEAM CAPTAIN) จะเปลี่ยนตัวมาลงเล่นอีกหรือจนกว่าจะสิ้นสุดเซตนั้นเมื่อลูกตาย หัวหน้าทีมในการแข่งขันเท่านั้น
ที่มีสิทธิเป็นผู้แทนของผู้เล่นทั้งหมดพูดกับผู้ตัดสิน เพื่อ
5.1.2.1 ขอคำอธิบายในการตีความกติกาหรือนำกติกามาใช้และร้องขอหรือถามคำถามของเพื่อนร่วมทีม ถ้าคำอธิบาย
ไม่เป็นที่พอใจ หัวหน้าในการแข่งขันต้องประท้องการตัดสินนั้นและสงวนสิทธิบันทึกการประท้องอย่างเป็นทางการ
ในใบบันทึกการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันจบสิ้นลง
5.1.2.2 ขอสิทธิ
ก. เปลี่ยนชุดหรืออุปกรณ์การแข่งขันบางส่วนหรือทั้งหมด
ข. ตรวจตำแหน่งผู้เล่นของทีม
ค. ตรวจพื้นสนาม ตาข่าย และลูกบอล
5.1.2.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.1.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันหัวหน้าทีมต้อง
5.1.3.1 แสดงความขอบคุณผู้ตัดสินและลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันการประท้องอย่างเป็นทางการต่อผู้ตัดสินเกี่ยวกับการนำกติกาใช้หรือตีความกติกาลงในใบบันทึกการแข่งขัน

5.2 ผู้ฝึกสอน (COACH)
5.2.1 ตลอดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ควบคุมการเล่นของทีมภายในสนามแข่งขัน เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนทำหน้าที่ดังกล่าวได้โดยขอผ่านทางผู้ตัดสินที่ 2
5.2.2 ก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้องบันทึกหรือตรวจสอบรายชื่อและหมายเลขของผู้เล่นในใบบันทึกการแข่งขัน
5.2.3 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้อง
5.2.3.1 ยืนใบส่งตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงชื่อแล้ว ให้ผู้ตัดสินหรือผู้บันทึกก่อนการแข่งขันทุกเซต
5.2.3.2 นั่งม้านั่งของทีมซึ่งใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุดแต่อาจลูกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว
5.2.3.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.2.3.4 ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้ร่วมทีมอื่น ๆ อาจให้คำแนะนำผู้เล่นในสนามได้ โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำผู้เล่นใน
สนามได้โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำขณะที่ยืนหรือเดินภายในเขตเล่นลูก (FREE ZONE) ด้านหน้าของม้านั่ง
ผู้เล่นสำรองตั้งแต่แนวที่ยื่นออกมาของเส้นรุกจนถึงพื้นที่อบอุ่นร่างกายแต่ต้องไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน

5.3 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (ASSISTANT COACH)
5.3.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะหยุดการแข่งขัน
5.3.2 ถ้าผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอาจทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแทนได้ โดยการขออนุญาตของหัวหน้าทีมในขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินที่ 1
6.1 การได้คะแนน (TO SCORE A POINT)
6.1.1 คะแนน ทีมได้คะแนนเมื่อ
6.1.1.1 ทำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม
6.1.1.2 ทีมตรงข้ามทำผิดกติกา
6.1.1.3 ทีมตรงข้ามถูกลงโทษ
6.1.2 การทำผิดกติกา ทีมทำผิดกติกาเมื่อลักษณะของการเล่นตรงข้ามกับกติกาการแข่งขัน
(หรือขัดแย้งกับกติกาโดยวิธีอื่นใด) ผู้ตัดสินจะตัดสินการการกระทำผิดและตัดสินใจดำเนินการตามกติกา ดังนี้
6.1.2.1 ถ้ามีการเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จะลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น
6.1.2.2 ถ้าทั้งสองทีมเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าพร้อม ๆ กันทั้งสองทีม จะถือว่าเป็นการกระทำผิดทั้งคู่ และจะเล่นลูกนั้นใหม่
6.1.3 ผลที่ตามมาเมื่อชนะการเล่นลูก การเล่นลูกเป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ จนกระทั้งลูกตาย 6.1.3.1 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ
6.1.3.2 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟในครั้งต่อไป

6.2 การชนะในแต่ละเซต (TO WIN A SET)
ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุก 2 คะแนน จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น ถ้าทำได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2คะแนน

6.3 การชนะการแข่งขันแต่ละนัด (TO WIN THE MATCH)
6.3.1 ทีมที่ทำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น
6.3.2 ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อย 2 คะแนน

6.4 ทีมที่ผิดระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (DEFAULT AND INCOMPLETE TEAM)
6.4.1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้งว่าทำผิดระเบียบการแข่งขัน และปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0 – 3 เซต คะแนน 0 – 25 ในแต่ละเซต
6.4.2 ทีมที่ไม่ปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.1
6.4.3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่งหรือการแข่งขันเซตใดเซตหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนและเซตเพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการแข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนนและเชตที่ทำไว้
7.1 การเสี่ยง (TOSS)
ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะทำการเสิร์ฟก่อนหรืออยู่แดนใด ในเซตที่ 1
ถ้าต้องการแข่งขันเซตตัดสินจะต้องทำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
7.1.1 การเสี่ยงต้องทำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย
7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะสิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
7.1.2.1 เลือกเสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟ
7.1.2.2 เลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ
7.1.3 ในกรณีที่ทำการอบอุ่นร่างกายมาพร้อมกัน ทีมที่ทำกาเสิร์ฟก่อนจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน

7.2 การอบอุ่นร่างกาย (WARM-UP SESSION)
7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุ่นร่างกายที่จัดไว้ให้แล้ว แต่ละทีมจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายได้ทีมละ 5 นาที
7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมทั้งสองตกลงทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันจะอบอุ่นร่างกายได้ 6 นาที หรือ 10 นาที

7.3 ตำแหน่งการเริ่มต้นของทีม (TEAM STARTING LINE-UP)
7.3.1 ทีมต้อมีผู้เล่น 6 คนเสมอ ในการแข่งขันตำแหน่งเริ่มต้นของทีม แสดงถึงลำดับการหมุนตำแหน่งของผู้เล่นในสนามลำดับนี้ตะคงอยู่ตลอดเวลานั้น
7.3.2 ก่อนการเริ่มแข่งขันแต่ละเซตผู้ฝึกสอนต้องแจ้งตำแหน่งเริ่มต้นเล่นทีมของตนเองในใบส่งตำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อกำกับแล้ว ส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขัน
7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของทีม จะเป็นผู้เล่นสำรองในเซตนั้น
7.3.4 เมื่อใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นเล่น ถูกนำส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขันแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งตำแหน่งอีก นอกจากต้องการทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติ
7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งตำแหน่งกับตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
7.3.5.1 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งโดยไม่มีการลงโทษ
7.3.5.2 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นเปลี่ยนที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบส่งตำแหน่ง ยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องของเปลี่ยนตัวตามปกติและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน

7.4 ตำแหน่ง (POSITIONS)
ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเองตามลำดับการหมุมตำแหน่ง
7.4.1 ตำแหน่งของผู้เล่นจำแนกได้ดังนี้
7.4.1.1 ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน ที่อยู่ใกล้ตาข่ายเป็นผู้เล่นแถวหน้าอยู่ในตำแหน่งที่ 4 ตำแหน่งที่ 3 และตำแหน่งที่ 2
7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผู้เล่นแถวหลังอยู่ในตำแหน่งที่ 5 ตำแหน่งที่ 6 ตำแหน่งที่ 1
ตำแหน่งของผู้เล่นจะถือตำแหน่งของเท้าที่แตะพื้น เป็นเครื่องหมายกำหนด     
7.4.2 ความเกี่ยวข้องของตำแหน่งระหว่างผู้เล่น
7.4.2.1 ผู้เล่นแถวหลังแต่ละคนต้องมีตำแหน่งอยู่ด้านหลังทั้งคู่ของตนเองที่เป็นผู้เล่นแถวหน้า
7.4.2.2 ผู้เล่นแถวหน้าและแถวหลังแต่ละคู่ต้องอยู่ในตำแหน่งข้างเดียวกันตามลำดับการหมุนตำแหน่งที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 7.4.1
7.4.3 ตำแหน่งของผู้เล่นจะพิจารณาและควบคุมจากตำแหน่งของเท้าที่สัมผัสพื้น ดังนี้
7.4.3.1 ผู้เล่นแถวหน้าแต่ละคนต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของรองเท้าอยู่ใกล้เส้นแบ่งแดนมากกว่าเท้าของผู้เล่นแดนตน
7.4.3.2 ผู้เล่นที่อยู่ทางขวา (หรือทางซ้าย) ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าใกล้กับเส้นทางขวา (หรือซ้าย) มากกว่าผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่งกลางของแถวเดียวกัน
7.4.4 เมื่อทำการเสิร์ฟลูกบอลออกไปแล้ว ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ในแดนและเขตรอบสนามตน

7.5 การผิดตำแหน่ง (POSITIONAL FAULT)
7.5.1 ทีมจะผิดตำแหน่ง ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล
7.5.2 ถ้าผู้เสิร์ฟเสิร์ฟผิดกติกาขณะที่ทำการเสิร์ฟ จะถือว่าการเสิร์ฟผิดปกติเกิดขึ้นก่อนการผิดตำแหน่งของทีมตรงข้าม
7.5.3 ถ้าการเสิร์ฟผิดกติกาหลังจากทำการเสิร์ฟออกไปแล้ว จะถือว่าการผิดตำแหน่งเกิดขึ้นก่อน
7.5.4 การทำผิดตำแหน่งจะมีผลตามมาดังนี้
7.5.4.1 เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น
7.5.4.2 เปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง

7.6 การหมุนตำแหน่ง (ROTATION)
7.6.1 ลำดับการหมุนตำแหน่งจะเป็นไปตามใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นของทีมและควบคุมด้วยลำดับการเสิร์ฟและ
ตำแหน่งของผู้เล่นตลอดทั้งเซต
7.6.2 เมื่อทีมที่รับลูกเสิร์ฟได้สิทธ์ในการทำเสิร์ฟ ผู้เล่นต้องหมุนต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกาไป 1 ตำแหน่ง

     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๒ หมุนไปตำแหน่งที่ ๑ เพื่อทำการเสิร์ฟ
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๑ หมุนไปตำแหน่งที่ ๖
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๖ หมุนไปตำแหน่งที่ ๕
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๕ หมุนไปตำแหน่งที่ ๔
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๔ หมุนไปตำแหน่งที่ ๓ 
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๓ หมุนไปตำแหน่งที่     

7.7 การหมุนตำแหน่งผิด (ROTATIONAL FAULT)
7.7.1 การหมุนตำแหน่งผิดเกิดขึ้นเมื่อ การเสิร์ฟไม่เป็นไปตามตำแหน่งการหมุนตำแหน่ง และมีผลตามมาดังนี้
7.7.1.1 เป็นฝ่ายแพ้ในเล่นลูกครั้งนั้น
7.7.1.2 ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง
7.7.2 นอกจากนั้น ผู้บันทึกต้องตัดสินใจหยุดการแข่งขันทันทีที่มีการผิดตำแหน่ง และยกเลิกคะแนนที่ได้ทำทั้งหมด
ขณะที่ผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของที่ทำได้ทั้งหมดขณะผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้คงเดิม
ถ้าคะแนนขณะผิดตำแหน่งไม่สามารถตรวจพบได้ให้ลงทาเพียงเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้นเท่านั้น
การเปลี่ยนตัว คือ การที่ผู้เล่นคนหนึ่งออกจากสนาม และผู้เล่นอีกคนหนึ่งข้าไปแทนในตำแหน่งนั้น หลังจากผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัว (ยกเว้นตัวบันทึกอิสระ) การเปลี่ยนตัวต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
8.1
 ข้อจำกัดขอกการเปลี่ยนตัว (LIMIYION OF SUBSTITUTION)
8.1.1
 ทีมหนี่งจะเปลี่ยนตัวได้มากที่สุด 6 คนต่อเซต การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนเพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้
8.1.2
 ผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นจะเปลี่ยนตัวออกได้หนึ่งครั้งและกลับมาเข้าไปเล่นได้อีกหนึ่งครั้ง ในตำแหน่งเดิม ตามใบส่งตำแหน่ง
8.1.3
 ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนเข้าแทนผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต 
และผู้ที่จะเปลี่ยนตัวเข้ามาแทนผู้เล่นสำรองต้องเป็นผู้เล่นคนเดิมเท่านั้น

8.2
 การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น (EXCEPTIONAL SUBSTITUTION)
ผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บ (ยกเว้นผู้รับอิสระ) จนแข่งขันต่อไปไม่ได้ จะเปลี่ยนตัวตามกติกา
 ถ้าเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ ทีมนั้นจะได้รับการยกเว้นให้เปลี่ยนได้ นอกเหนือจากกติกาที่กำหนดไว้ใน การเปลี่ยนตัวที่ได้รับยกเว้นจะไม่นับรวม 
กับการเปลี่ยนตัวตามปกติ ไม่ว่ากรณีใด

8.3
 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ถูกทำโทษออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขันหรือ
ขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน
 (SUBSTITUTION FOR EXPULSION OR DISQUALIFICATION)
ผู้เล่นที่ถูกทำโทษให้ออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน ต้องทำการเปลี่ยนตัวตามกติกา
 
ถ้าทำการเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ จะถือว่าทีมนั้นเป็นทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขัน

8.4
 การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกา (ILLEGAL SUBSTITUTION)
8.4.1
 การเปลี่ยนตัวจะผิดกติกา ถ้านอกเหนือจากข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 8.1 
8.4.2
 เมื่อทีมทำการเปลี่ยนตัวผิดกติกา และการแข่งขันได้เล่นต่อไปแล้วจะต้องดำเนินการดังนี้ (กติกาข้อ 9.1)
8.4.2.1
 ทีมถูกลงโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น 
8.4.2.2
 แก้ไขการเปลี่ยนตัวให้ถูกต้อง
8.4.2.3
 คะแนนที่ทำได้ตั้งแต่ทำผิดกติกาของทีมนั้นจะถูกตัดออก ส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามยังคงไว้ตามเดิม
9.1 ลูกบอลที่อยู่ในการเล่น (BALL IN PLAY)
ลูกบอลจะอยู่ในการเล่นตั้งแต่ขณะที่ทำการเสิร์ฟ โดยผู้ตัดสินที่
 1 เป็นผู้อนุญาต (กติกาข้อ 13.3)

9.2
 ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น หรือลูกตาย (BALL OUT OF PLAY)
ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น ตั้งแต่ขณะที่มีการทำผิดกติกาซึ่งผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีด
 การทำผิดกติกาสิ้นสุดลงพร้อมๆกับสัญญาณนกหวีด

9.3
 ลูกบอลอยู่ในสนาม (BALL IN)
ลูกบอลอยู่ในสนาม เมื่อลูกบอลถูกพื้นสนามแข่งขันรวมทั้งเส้นเขตสนาม (กติกาข้อ
 1.1, 1.3.2) 

9.4
 ลูกบอลออกนอกสนาม (BALL OUT)
ลูกบอลออกนอกสนามเมื่อ
9.4.1
 บางส่วนของลูกบอลตกลงบนพื้น นอกเส้นเขตสนามอย่างสมบูรณ์ 
9.4.2
 ลูกบอลถูกสิ่งของที่อยู่ภายนอกสนาม เพดาน หรือผู้ที่ไม่ได้แข่งขันด้วย
9.4.3
 ลูกบอลถูกเสาอากาศ เชือก เสา หรือตาข่ายที่อยู่นอกแถบข้าง (กติกาข้อ 2.3)
9.4.4
 ลูกบอลข้ามตาข่าย นอกเขตแนวตั้งที่กำหนดให้ลูกบอลผ่านอย่างสมบูรณ์หรือเพียงบางส่วน 
(ยกเว้นกรณีกติกาข้อ
 11.1.2, 11.1.1)
9.4.5
 ลูกบอลลอดใต้ตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้ามอย่างสมบูรณ์
แต่ละทีมต้องเล่นลูกบอลภายในพื้นที่เล่นลูกและที่ว่างของทีมตนเอง (ยกเว้นกติกาข้อ 11.1.2) อย่างไรก็ตามผู้เล่นสามารถนำบอลที่ออกไปนอกเขตรอบสนามกลับมาเล่นต่อได้
10.1
 การถูกลูกบอลของทีม (TEAM HITS)
ทีมถูกลูกบอลได้มากที่สุด
 3 ครั้ง (นอกจากทำการสกัดกั้นตามกติกาข้อ 15.4.1) เพื่อส่งลูกบอลกลับไปยังทีมตรงข้าม ถ้าถูกลูกบอลมากกว่านี้ ถือว่าทีมทำผิดกติกา “ถูกลูก 4 ครั้ง” การถูกลูกบอลของทีม นับรวมทั้งที่ผู้เล่นตั้งใจถูกหรือไม่ตั้งใจถูกก็ตาม
10.1.1
 การถูกลูกบอลอย่างต่อเนื่อง (CONSECUTIVE CONTACTS) ผู้เล่นจะถูกลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกันไม่ได้ (ยกเว้นกติกาข้อ 10.2.3, 15.2, 15.4.2)
10.1.2
 การถูกลูกบอลพร้อมกัน (SIMULTENEOUS CONTACTS) ผู้เล่น 2 คนหรือ 3 คนอาจถูกลูกบอลพร้อมๆกันได้ในเวลาเดียวกัน
10.1.2.1
 เมื่อผู้เล่นทีมเดียวกัน 2 คน (3 คน) ถูกบอลพร้อมๆกัน จะถือว่าเป็นการถูกบอล 2 ครั้ง (3 ครั้ง) ยกเว้นเมื่อทำการสกัดกั้น ถ้าผู้เล่นหลายคนถึงลูกบอลพร้อมกัน แต่มีผู้เล่นถูกลูกบอลเพียงคนเดียว จะถือว่าถูกลูกบอล 1ครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่นชนกันก็ไม่ถือว่าผิดกติกา
10.1.2.2
 เมื่อทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมๆกันเหนือตาข่าย และยังเล่นลูกบอลนั้นต่อไปได้ ทีมรับที่รับลูกนั้นสามารถถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง ถ้าลูกบอลออกนอกสนาม จะถือว่าทีมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับลูกบอลเป็นฝ่ายทำลูกบอลออกนอกสนาม
10.1.2.3
 ถ้าการถูกลูกบอลพร้อม ๆ กันทั้งสองทีมเป็นการจับลูก (CATCH) จะถือว่าผิดกติกาทั้งสองทีม และต้องเล่นลูกนั้นใหม่ 
10.1.3
 การเล่นลุกบอลโดยมีกาช่วยเหลือ (ASSISTED HIT) ภายในบริเวณพื้นที่เล่น ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอาศัย
เพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งใด ๆ ช่วยให้ไปถึงลูกบอลได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่กำลังจะทำผิดกติกา
(โดยกำลังจะถูกตาข่ายหรือเส้นขั้นเขตแดน) อาจถูกฉุดหรือดึงโดยเพื่อนร่วมทีมได้

10.2
 การถูกลูกบอลในลักษณะต่าง ๆ (CHARACTERISTICS OF THE HIT)
10.2.1
 ลูกบอลอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้
10.2.2
 การถูกลูกบอลต้องเป็นการกระทบ ไม่ใช่จับหรือโยน ลูกบอลจะสะท้อนกลับในทิศทางใดก็ได้
10.2.3
 ลูกบอลอาจถูกหลายส่วนของร่างกายได้ ถ้าการถูกนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
10.2.3.1
 ในการสกกัดกั้น ลูกบอลอาจถูกผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าติดต่อกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกบอลเพียงครั้งเดียว
10.2.3.2
 การถูกลูกบอลครั้งแรกของทีม ลูกบอลอาจถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อเนื่องกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกครั้งเดียว

10.3
 การทำผิดกติกาในการเล่นลูกบอล (FAULT IN PLATING THR BALL)
10.3.1
 การถูกลูกบอล 4 ครั้ง ทีมถูกลูกบอล 4 ครั้งก่อนส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้าม
10.3.2
 การถูกลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือ ผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งของใด ๆ ช่วยให้เข้าถึงลูกบอลภายในบริเวณพื้นที่เล่นลูก
10.3.3
 การจับลูกบอล ผู้เล่นไม่ได้กระทบลูกแต่จับและ / หรือโยนลูกบอล
10.3.4
 การถูกลูกบอลติดต่อกัน 2 ครั้ง ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้ง หรือถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการเล่นลูก 1ครั้ง
11.1 การข้ามตาข่ายของลูกบอล (BALL CROSSING THE NET)
11.1.1
 ลูกบอลที่ส่งไปยังทีมตรงข้าม ต้องข้ามเหนือตาข่ายภายในพื้นที่สำหรับข้ามตาข่าย พื้นที่สำหรับข้ามตาข่ายคือ พื้นที่ในแนวตั้งของตาข่ายที่ถูกกำหนดด้วยสิ่งต่อไปนี้
11.1.1.1
 ส่วนต่ำสุด โดยขอบบนของตาข่าย
11.1.1.2
 ด้านข้าง โดยมีเสาอากาศและแนวสมมุติที่สูงขึ้นไป
11.1.1.3
 ส่วนบนสุด โดยเพดาน
11.1.2
 ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้ามโดยทุกส่วนของลูกบอล หรือเพียงบางส่วน
ของลูกบอลอยู่นอกแนวข้ามตาข่าย ลูกบอลอาจกลับมาเล่นต่อได้โดยเล่นลูกไม่เกิน
 3 ครั้ง ถ้า
11.1.2.1
 ผู้เล่นไม่ถูกแดนของทีมตรงข้าม
11.1.2.2
 ลูกบอลที่เล่นกันมา ข้ามนอกเขตข้ามตาข่ายลูกบอล ทางด้านเดียวกันของสนามทั้งลูกหรือเพียงบางส่วน
ของลูก ทีมตรงข้ามจะกีดขวางการเล่นลูกนี้ไม่ได้

11.2
 การถูกตาข่ายของลูกบอล (BALL TOUCHING THE NET)
ลูกบอลอาจถูกตาข่ายได้ขณะที่กำลังข้ามตาข่าย

11.3
 ลูกบอลที่ชนตาข่าย (BALL IN THE NET)
11.3.1
 ลูกบอลที่พุ่งชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามกำหนดการเล่นลูก
11.3.2
 ถ้าลูกบอลทำให้ลูกบอลทำให้ตาข่ายฉีกขาด หรือทำให้ตาข่ายหลุดให้ยกเลิกการเล่นลูกครั้งนั้นและนำมาเล่นกันใหม่
12.1 การล้ำเหนือตาข่าย (REACHING BEYOND THE NET)
12.1.1
 ในการสกัดกั้น ผู้สกัดกั้นอาจล้ำตาข่ายเข้าไปถูกลูกบอลได้ถ้าไม่กีดขวางการเล่นลูกของทีมตรงกันข้าม คือไม่ถูกลูกก่อนหรือไม่ถูกลูกขณะที่ทีมตรงกันข้ามทำการรุก
12.1.2
 ภายหลังการตบลูกบอล มือของผู้เล่นอาจล้ำตาข่ายได้ ถ้าขณะถูกลูกเป็นการถูกลูกบอลในแดนของทีมของตนเอง

12.2
 การล้ำใต้ตาข่าย (PENETRATION UNDER THE NET)
12.2.1
 อนุญาตให้ล้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามใต้ตาข่ายได้ ถ้าไม่ขัดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม
12.2.2
 การล้ำเส้นแบ่งแดนเข้าไปในแดขของทีมตรงข้าม
12.2.2.1
 อนุญาตให้เท้าหรือมือข้างเดียว (2 ข้าง) ถูกแดนของทีมตรงข้ามได้ ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าหรือมือยังคงแตะ หรืออยู่เหนือเส้นแบ่งแดน
12.2.2.2
 ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจะถูกแดนของทีมตรงข้ามไม่ได้
12.2.3
 ผู้เล่นอาจเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามได้หลังจากลูกตายแล้ว
12.2.4
 ผู้เล่นอาจล้ำเข้าไปในเขตรอบสนามของทีมตรงกันข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของทีมตรงกันข้าม

12.3
 การถูกตาข่าย (CONTACT WITH THE NET)
12.3.1
 การถูกตาข่ายหรือเสาอากาศไม่ผิดกติกา เว้นแต่เมื่ออยู่ในลักษณะเล่นลูกหรือกีดขวางการเล่น การเล่นลูกบางลักษณะอาจรวมถึงลักษณะที่ผู้เล่นไม่ได้ถูกลูกบอลในขณะนั้นด้วย
12.3.2
 เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกบอลไปแล้ว ผู้เล่นอาจถูกเสาเชือก หรือสิ่งใด ๆ ที่อยู่นอกระยะความยาวของตาข่ายได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่น
12.3.3
 ถ้าลูกบอลที่พุ่งชนตาข่ายทำให้ตาข่ายไปถูกผู้เล่นทีมตรงข้ามไม่ถือว่าผิดกติกา

12.4
 การผิดกติกาของผู้เล่นที่ตาข่าย (PLAYERS’ FAULTS AT THE NET)
12.4.1
 ผู้เล่นถูกลูกบอลหรือถูกผู้เล่นทีมตรงข้าม ในแดนของทีมตรงกันข้าม หรือระหว่างที่ทีมตรงกันข้ามทำการรุก
12.4.2
 ผู้เล่นล้ำเข้าไปในที่ว่างใต้ตาข่ายของทีมตรงข้ามและกีดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม
12.4.3
 ผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้าม
12.4.4
 ผู้เล่นถูกตาข่าย หรือเสาอากาศขณะอยู่ในลักษณะของการเล่นลูก หรือกีดขวางการเล่น
การเสิร์ฟ เป็นการนำลูกเข้าสู่การเล่น โดยผู้เล่นตำแหน่งหลังขวาที่ยืนอยู่ในเขตเสิร์ฟ
13.1
 การเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซต (FIRST SERVICE IN A SET)
13.1.1
 ทีมใดจะได้เสิร์ฟลูกแรกในเซตที่ 1 และเซตตัดสิน (เซต 5) มีผลมาจากการตัดสินใจของทีมเมื่อทำการเสี่ยง
13.1.2
 ในเซตอื่น ๆทีมที่ไม่ได้เสิร์ฟลูกแรกในเซตที่ผ่านมาจะเป็นทีมที่ทำการเสิร์ฟลูกแรก

13.2
 ลำดับการเสิร์ฟ (SERVICE ORDER)
13.2.1
 ลำดับการเสิร์ฟของผู้เล่นต้องเป็นไปตามที่บันทึกไว้ในใบส่งตำแหน่ง
13.2.2
 หลังจากากรเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซตผู้เล่นที่เสิร์ฟครั้งต่อไปจะเป็นดังนี้
13.2.2.1
 เมื่อฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกนั้น ผู้ที่ทำการเสิร์ฟอยู่แล้ว (หรือผู้เล่นสำรองเปลี่ยนตัวเข้ามาแทน) จะทำการเสิร์ฟต่อไปอีก
13.2.2.2
 เมื่อฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะในการเล่นลูกนั้นจะได้สิทธ์ทำการเสิร์ฟและต้องหมุนตำแหน่งก่อนทำการเสิร์ฟผู้เล่นที่หมุนจากตำแหน่งหน้าขวาไปยังหลังขวาจะเป็นผู้เสิร์ฟ

13.3
 การอนุญาตให้เสิร์ฟ (AUTHORIZATION OF THE SERVICE)
ผู้ตัดสินที่
 1 เป็นผู้อนุญาตให้เสิร์ฟ หลังจากการตรวจดูว่าทั้งสองทีมพร้อมแข่งขัน และผู้เสิร์ฟถือลูกบอลไว้แล้ว

13.4
 การปฏิบัติในการเสิร์ฟ (EXECUTION OF THE SERVICE)
13.4.1
 หลังจากผู้เสิร์ฟโยนหรือปล่อยลูกบอลออกจากมือแล้วจะเสิร์ฟด้วยมือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแขนเพียงข้างเดียว
13.4.2
 อนุญาตให้ทำการโยนลูกบอลเพื่อทำการเสิร์ฟเพียงครั้งเดียว แต่อนุญาตให้เดาะหรือเคลื่อนไหวลูกบอลในมือได้
13.4.3
 ขณะทำการเสิร์ฟหรือกระโดดเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องไมถูกพื้นที่เขตสนาม (รวมทั้งเส้นหลังด้วย) หรือพื้นที่นอกเขตเสิร์ฟ
หลังจากทำการเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟจึงสามารถเหยียบหรือถูกพื้นนอกเขตเสิร์ฟและพื้นในเขตสนามได้
13.4.4
 ผู้เสิร์ฟต้องทำการเสิร์ฟลูกภายใน 8 นาที หลังจาก ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ
13.4.5
 การเสิร์ฟก่อนสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสิน ต้องยกเลิกและให้ทำการเสิร์ฟใหม่

13.5
 การกำบัง (SCREENING)
13.5.1
 ผู้เล่นของทีมที่กำลังจะทำการเสิร์ฟ คนเดียวหรือหลายคนก็ตามไม่บังทีมตรงข้ามเพื่อมิให้มองเห็นผู้เสิร์ฟเคลื่อนไหวแขน กระโดด หรือเคลื่อนที่ไปข้าง ๆ ขณะที่กำลังทำการเสิร์ฟ เพื่อบังทิศทางที่ลูกบอลพุ่งไป จะถือว่าเป็นการกำบัง

13.6
 การกระทำผิดระหว่างทำการเสิร์ฟ (FAULTS MADE DURING THE SEERVIC)
13.6.1
 การเสิร์ฟที่ผิดกติกา การผิดกติกาต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนเสิร์ฟ ถึงแม้ว่าทีมตรงข้ามจะผิดตำแหน่ง
13.6.1.1
 ทำการเสิร์ฟผิดลำดับการเสิร์ฟ
13.6.1.1
 ทำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง
13.6.2
 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟลูกบอลออกไปอย่างถูกต้องแล้ว การเสิร์ฟนั้นอาจผิดกติกาได้
13.62.1
 ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นของทีมที่ทำการเสิร์ฟหรือไม่ผ่านพื้นที่ว่างเหนือตาข่ายอย่างสมบูรณ์
13.6.2.2
 ลูก “ออก” กติกาข้อ 9.4 
13.6.2.3
 ลูกบอลผ่านเหนือการกำบัง

13.7
 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟและการผิดตำแหน่ง
(
FAULTS MADE AFTER THE SERVICE AND POSITIONAL FAULT)
13.7.1
 ถ้าผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟผิดกติกา (ทำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง หรือ ผิดลำดับการเสิร์ฟเป็นต้น) และทีมตรงข้ามผิดตำแหน่งการเสิร์ฟผิดกติกาจะถูกทำโทษ
13.7.1
 ถ้าการเสิร์ฟกระทำอย่างถูกต้อง แต่ผิดพลาดในเวลาต่อมา (ลูกออก หรือ ผ่านการกำบังเป็นต้น) จะถือว่าการผิดตำแหน่งเกิดขึ้นก่อน และจะทำโทษการผิดตำแหน่ง
14.1 การรุก (ATTACK HIT)
14.1.1
 การกระทำใด ๆ ที่ส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้ามยกเว้นการเสิร์ฟและการสกัดกั้น ถือว่าเป็นการรุก
14.1.2
 ขณะทำการรุก อนุญาตให้ใช้ปลายนิ้วเล่นลูกได้ถ้าการถูกลูกเป็นไปอย่างชัดเจน และไม่ได้ใช้ฝ่ามือจับหรือโยนลูกบอลออกไป
14.1.2
 การรุกจะสมบูรณ์เมื่อลูกได้ข้ามแนวดิ่งของตาข่ายไป แล้วทั้งลูกหรือเมื่อทีมตรงข้ามถูกลูก

14.2
 ข้อกำจัดของการรุก (RESTRICTIONS OF THE ATTACK HIT)
14.2.1
 ผู้เล่นแถวหน้าสามารถทำการรุกที่ระดับความสูงเท่าใดก็ได้ ถ้าการถูกลูกบอลอยู่ภายในแดนของผู้เล่นเอง
14.2.2
 ผู้เล่นแถวหลังสามารถทำการรุกที่ระดับความสูงเท่าใดก็ได้ จากหลังเขตรุก
14.2.2.1
 ขณะกระโดด เท้าข้างหนึ่ง (ทั้งสองข้าง) ต้องไม่แตะหรือข้ามเส้นรุก
14.2.2.2
 หลังจากตบลูกแล้ว จึงจะลงยืนในเขตรุกได้
14.2.3
 ผู้เล่นแถวหลังสามารถทำการรุกในเขตรุกได้ ถ้าถูกลูกบอลในขณะที่ทุกส่วนของลูกบอลไม่อยู่เหนือกว่าขอบบนสุดของตาข่าย
14.2.4
 ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนตบลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา เมื่อลูกบอลอยู่ในเขตรุก และลูกบอลอยู่ในเขตรุก และลูกบอลทั้งลูกอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย

14.3
 การรุกที่ผิดกติกา (FAULTS OF THE ATTACK HIT)
14.3.1
 ถ้าลูกบอลในแดนขิงทีมตรงข้าม
14.3.2
 ตบลูกออกนอกเขตสนาม
14.3.3
 ผู้เล่นแถวหลังทำการรุกในเขตรุก ขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่ายทั้งลูก
14.3.4
 ตบลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา ขณะที่ลูกบอลอยู่ในเขตรุกและอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่ายทั้งลูก
14.3.5
 ตัวรับอิสระทำการรุก โดยขณะถูกลูกบอล ลูกบอลทั้งลูกอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย
14.3.6
 ผู้เล่นทำการรุกขณะลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย โดยตัวรับอิสระที่อยู่ในแดนหน้าเป็นผู้ใช้นิ้วส่งลูกบอลมาให้ด้วยการเล่นลูก บนมือบน
15.1 การสกัดกั้น (BLOCK)
15.1.1
 การสกัดกั้นคือ การเล่นของผู้เล่นที่อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่จะมาจากทีมตรงข้าม โดยเอื้อมมือสูงกว่าระดับสูงสุดของตาข่าย
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการสกัดกั้นได้
15.1.2
 ความพยายามที่จะสกัดกั้น คือลักษณะของการทำการสกัดกั้นแต่ไม่ถูกลูกบอล
15.1.3
 การสกัดกั้นที่สมบูรณ์ คือการสกัดกั้นที่สมบูรณ์ คือการสกัดกั้นที่ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอล
15.1.4
 การสกัดกั้นเป็นกลุ่ม คือการสกัดกั้นโดยผู้เล่นสองหรือสามคนที่อยู่ใกล้ ๆ กัน การสกัดกั้นจะสมบูรณ์เมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกลูกบอล

15.2
 การถูกลูกบอลขณะทำการสกัดกั้น (BLOCK CONTACT)
การถูกลูกบอลหลายครั้ง (อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง) โดยผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าอาจเกิดขึ้นได้
 ถ้าการถูกลูกนั้นเป็นลักษณะทำการสกัดกั้นเพียงครั้งเดียว

15.3
 การสกัดกั้นในแดนของทีมตรงข้าม (BLOCKING WITHIN THE OPPONENT’S SPACE)
ในการสกัดกั้น ผู้เล่นยื่นมือแขนล้ำตาข่ายได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม
 การสกัดกั้นจะถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามไม่ได้ จนกว่าทีมตรงข้ามจะถูกลูกเพื่อทำการรุกแล้ว

15.4
 การสกัดกั้นและการถูกลูกบอลของทีม (BLOCK AND TEAM HITS)
15.4.1
 การถูกลูกบอลโดยการสกัดกั้น ไม่นับเป็นการถูกลูกบอลของทีม หลังจากถูกลูกบอลโดยการสกัดกั้นแล้ว ทีมนั้นยังถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้าม
15.4.2
 หลังจากทำการสกัดกั้น ผู้ถูกลูกแรกจะเป็นผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรวมทั้งผู้เล่นที่ถูกลูกบอลในการสกัดกั้นด้วยก็ได้

15.5
 การสกัดกั้นลูกเสิร์ฟ (BLOCKING THE SERVICE)
ห้ามสกัดกั้นลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา

15.6
 การสกัดกั้นที่ผิดกติกา (BLOCKING FAULT)
15.6.1
 ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามก่อนหรือพร้อมกับการถูกลูกเพื่อทำการรุกของทีมตรงข้าม
15.6.2
 ผู้เล่นแถวหลังหรือตัวรับอิสระ ทำการสกัดกั้นหรือรวมกลุ่มทำการสกัดกั้นโดยสมบูรณ์
15.6.3
 สกัดกั้นลูกเสิร์ฟของทีมตรงข้าม
15.6.4
 ลูกบอลถูกสกัดกั้นแล้วออกนอกเขตสนาม
15.6.5
 สกัดกั้นลูกบอลด้านนอกเสาอากาศในแดนของทีมตรงข้าม
15.6.6
 ตัวรัยอิสระพยายามทำการสกัดกั้นด้วยตัวเองหรือรวมกับผู้เล่นอื่น
การหยุดการแข่งขันตามกติกา ได้แก่ การขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัว
16.1
 จำนวนครั้งของการขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (NUMBER OF REGULAR INTERRUPTIONS)
แต่ละทีมของเวลานอกได้อย่างมากที่สุด
 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 6 คนต่อเซต

16.2
 การขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (REQUEST FOR REGULAR INTERRUPTIONS)
16.2.1
 ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมที่ลงแข่งขันเท่านั้นที่ขอหยุดการแข่งขันได้ การขอหยุดการแข่งขันได้ การขอหยุดการแข่งขันกระทำโดยแสดงสัญญาณมือเมื่อลูกตาย และก่อนสัญญาณนกหวีดทำการเสิร์ฟ
16.2.2
 การขอเปลี่ยนตัวก่อนเริ่มการแข่งขันของเซตสามารถทำได้ และต้องบันทึกไว้เหมือนกับการขอเปลี่ยนตัวปกติในเซตนั้น

16.3
 ลำดับการขอหยุดการแข่งขัน (SEQUENCE OF INTERRUPTION)
16.3.1
 ทีมที่สามารถขอเวลานอกหนึ่งหรือสองครั้งติดต่อกันได้และตามด้วยการขอเปลี่ยนตัวได้อีกด้วย โดยไม่ต้องรอให้มีการแข่งขันแทรกระหว่างการขอหยุดการแข่งขันแต่ละครั้ง
16.3.2
 ไม่อนุญาตให้ทีมขอเปลี่ยนตัวสองครั้งติดต่อกัน เว้นเสียแต่ว่ามีการแข่งขันเกิดขึ้นหลังจากการขอเปลี่ยนตัวครั้งแรกแล้วจึง ขอเปลี่ยนตัวครั้งต่อไปได้ การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนครั้งละสองคนหรือมากว่าก็ได้

16.4
 เวลานอกปกติและเวลานอกทางเทคนิค (TIME-OUTS AND TECHNICAL TIME-OUTS)
16.4.1
 การขอเวลานอกแต่ละครั้งมีเวลา 30 วินาที สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
และการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ระหว่างเซตที่
 1 ถึง 4 เมื่อทีมใดนำไปถึงคะแนนที่ 8 และคะแนนที่ 16 ในแต่ละ
เซต จะให้เวลานอกทางเทคนิคโดยอัตโนมัติครั้งละ
 60 วินาที ในเซตตัดสิน (เซตที่ 5) ไม่มีการให้เวลานอกทาง
เทคนิคแต่ละทีมขอเวลานอกตามปกติได้
 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
16.4.2
 ระหว่างการขอเวลานอกทุกแบบ ผู้เล่นในสนามแข่งขันต้องออกไปอยู่เขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง

16.5
 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (PLAYER SUBSTITUTION)
16.5.1
 การเปลี่ยนตัวต้อวกระทำภายในเขตเปลี่ยนตัว
16.5.2
 การเปลี่ยนตัวจะใช้เวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อบันทึกการขางขันและให้ผู้เล่นเข้าและออกจากสนามเท่านั้น
16.5.3
 ขณะขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวต้องพร้อมจะเข้าสนามใกล้กับเขตเปลี่ยนตัว ถ้าผู้เล่นไม่พร้อมตาม
ที่กล่าวข้างต้น จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัว และทีมจะถูกทำโทษถ่วงเวลา สำหรับการแข่งขันรับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ป้ายหมายเลขช่วยในการเปลี่ยนตัว
16.5.4
 ถ้าทีมตั้งใจเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน จะต้องให้สัญญาณบอกจำนวนในขณะขอเปลี่ยนตัว และในกรณีนี้ต้อง
ทำการเปลี่ยนตัวให้เสร็จสิ้นทีละคู่ ตามลำดับ

16.6
 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดปกติ (IMPROPER REQUESTS)
16.6.1
 การขอหยุดการแข่งขันต่อไปนี้เป็นการกระทำที่ผิดกติกา
16.6.1.1
 ระหว่างการเล่นกำลังดำเนินอยู่ หรือขณะกำลังให้สัญญาณทำการเสิร์ฟแล้ว
16.6.1.2
 โดยผู้ร่วมทีมที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ
16.6.1.3
 ขอเปลี่ยนตัวครั้งที่ 2 โดยยังไม่ได้ดำเนินการแข่งขันหลังจากเปลี่ยนตัวครั้งแรกไปแล้ว
16.6.1.4
 หลังจากจำนวนครั้งที่ขอเวลานอกการขอเปลี่ยนตัวได้ใช้ไปหมดแล้ว
16.6.2
 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาครั้งแรกที่ไม่มีผลกระทบหรือทำให้การแข่งขันล่าช้า จะได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีการทำโทษใด ๆ 
16.6.3
 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาซ้ำอีกในการแข่งขันนัดนั้น ถือว่าเป็นการถ่วง
17.1 ชนิดของการถ่วงเวลาการแข่งขัน (TYPES OF DELATS)
การกระทำใด ๆ ของทีมที่เป็นเหตุให้การแข่งขันล่าช้าถือว่าเป็นการถ่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วย
17.1.1
 การเปลี่ยนตัวล่าช้า
17.1.2
 เมื่อได้รับแจ้งให้เริ่มการแข่งขันแล้ว ยังทำให้การขอหยุดการแข่งขันเนิ่นนานออกไปอีก
17.1.3
 ขอเปลี่ยนตัวผิดกติกา
17.1.4
 ขอยุดการแข่งขันผิดปกติซ้ำอีก
17.1.5
 การถ่วงเวลาการแข่งขันโดยผู้ร่วมมือ

17.2
 บททำโทษในการถ่วงเวลา (DELAY SANCTIONS)
17.2.1
 การเตือน (Delay Warning) และการลงเมื่อถ่วงเวลา (Delay penalty) เป็นการทำโทษทีม
17.2.1.1
 การถูกทำโทษเมื่อถ่วงเวลาจะมีผลต่อเนื่องตลอดการแข่งขันนัดนั้น
17.2.1.2
 การถูกทำโทษและถูกเตือนเมื่อถ่วงเวลา ต้องบันทึกลงในบันทึกการแข่งขัน
17.2.2
 การถ่วงเวลาครั้งแรกของทีมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่ง จะถูกทำโทษด้วยการเตือน (Delay Warning)
17.2.3
 การถ่วงเวลาครั้งที่ 2 และครั้งต่อ ๆ ไป ในการแข่งขันนัดเดียวกัน ไม่ว่าแบบใด โดยผู้เล่นหรือผู้ร่วมทีมคนใด ถือว่าหระทำผิดกติกาและจะถูกทำโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกนั้น
17.2.4
 การทำโทษเมื่อถ่วงเวลา ก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะมีผลในเซตถัดไป
18.1 การบาดเจ็บ (INJURY)
18.1.1
 เมื่อมีอุบัติเหตุร้ายแรงระหว่างการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องหยุดการแข่งขันทันทีและอนุญาตให้พยาบาลลงไปในสนามได้ แล้วให้เล่นลูกนั้นใหม่
18.1.2
 ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเปลี่ยนตัวได้ตามกติกาหรือตามข้อยกเว้น จะอนุญาตให้ปฐมพยาบาลผู้เล่นนั้นได้ 
3
 นาที แต่จะทำได้เพียงครั้งเดียวในการแข่งขันนัดนั้น สำหรับผู้เล่นคนเดิม ถ้าพยาบาลแล้วยังเล่นต่อไปไม่ได้
จะถือว่าทีมนั้นไม่พร้อมทำการแข่งขัน

18.2
 เหตุขัดข้องนอกเหนือกติกาการแข่งขัน (EXTERNAL INTERFERENCE)
ถ้ามีเขตขัดข้อง นอกเหนือกติกาเกิดขึ้นระหว่างแข่งขันจะต้องหยุดการแข่งขันไว้และให้เล่นลูกนั้นใหม่

18.3
 เหตุขัดข้องเป็นเวลายาวนาน (PROLONGED INTERRUPTIONS)
18.3.1
 ถ้ามีเหตุไม่คาดฝันทำให้การแข่งขันหยุดลง ผู้ตัดสินที่ 1 ฝ่ายจัดการแข่งขัน และคณะกรรมการควบคุมการแข่งขันจะร่วมกันตัดสินใจให้การแข่งขันดำเนินต่อไปตามปกติ
18.3.2
 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครั้งเดียวหรือหลายครั้ง แต่รวมแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง
18.3.2.1
 ถ้าทำการแข่งขันใหม่ในสนามแข่งขันเดิมเซตที่หยุดการแข่งขันการแข่งขันไปจะถูกนำกลับมาแข่งขัน
ตามปกติโดยใช้คะแนนผู้เล่นและตำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ผ่านไปแล้ว ยังมีผลเหมือนเดิม
18.3.2.2
 ถ้าทำการแข่งขันใหม่ในสนามอื่นให้ยกเลิกผลการแข่งขันในเซตที่หยุดการแข่งขัน แล้วเริ่มต้นเริ่มใหม่ตามตำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ผ่านไปแล้งยังมีผลเหมือนเดิม
18.3.3
 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครั้งเดียวหรือหลาย ๆ ครั้งรวมกันแล้วเกิน 4 ชั่วโมง จะต้องทำการแข่งขันนัดนั้นใหม่ทั้งหมด
19.1 การหยุดพักระหว่างเซต (INTERVALS)
การหยุดพักระหว่างเซตจะพักเซตละ
 3 นาที ระหว่างการหยุดพักนี้ จะทำการเปลี่ยนแดนและบันทึกตำแหน่งเริ่ม
แข่งขันลงในใบบันทึกผลการแข่งขัน การหยุดพักระหว่างเซตที่
 2 และเซตที่ 3 อาจขยายเวลาพักเป็น 10 นาทีได้ 
ตามคำขอของเจ้าภาพต่อคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ย่อหน้าที่
 3 เพิ่มเติมจากกติกาเดิม

19.2
 การเปลี่ยนแดน (CHANGE OF COURTS)
19.2.1
 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเซต ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดน ยกเว้นเซตตัดสิน
19.2.2
 ในเซตตัดสิน เมื่อทีมใดทำได้ 8 คะแนน จะทำการเปลี่ยนแดนทันที และตำแหน่งของผู้เล่นให้เป็นไปตามเดิม
ถ้าไม่ได้เปลี่ยนแดนเมื่อทีมที่นำอยู่ได้คะแนนที่
 8 จะต้องทำการเปลี่ยนแดนทันทีที่พบข้อผิดพลาด ส่วนคะแนนให้เป็นไปตามเดิม
20.1 การแต่งตั้งตัวรับอิสระ (DESIGNATION OF THE LIBERO)
20.1.1
 แต่ละทีมมีสิทธ์แต่งตั้งตัวรับอิสระที่รับลูกบอลได้ดีเป็นพิเศษ 1 คน จากผู้เล่นที่ส่งรายชื่อ 12 คนสุดท้าย
20.1.2
 ก่อนเริมการแข่งขันต้องบันทึกตัวรับอิสระในใบบันทึกการแข่งขัน ที่บรรทัดซึ่งจัดไว้เป็นพิเศษสำหับการนี้และต้องระบุหมายเลขลงในใบส่งตำแหน่งเซตที่ 1
20.1.3
 ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) หรือหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) ไม่ได้

20.2
 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT)
ตัวรับอิสระต้องสวมชุดแข่งขัน
 (หรือเสื้อที่ออกแบบพิเศษสำหรับตัวรับอิสระ) อย่างน้อยที่สุดสีเสื้อต้องแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีมแบบชุดแข่งขันของตัวรับ อิสระอาจแตกต่างจากคนอื่น แต่แบบของหมายเลขบนชุดแข่งขันต้องเหมือนกับของเพื่อนร่วมทีม

20.3
 ลักษณะการเล่นที่เกี่ยวข้องกับตัวรับอิสระ (ACTIONS INVOLVING THE LIBCERO)
20.3.1
 ลักษณะการเล่น
20.3.1.1
 ตัวรับอิสระจะแทนผู้เล่นแดนหลังคนใดก็ได้
20.3.1.2
 ตัวรับอิสระถูกกำหนดให้ทำหน้าที่เหมือนกับผู้เล่นแดนหลังคนหนึ่ง ไม่อนุญาตให้ทำการรุกอย่างสมบูรณ์
ไม่ว่าจากจุดใดของสนาม (ทั้งภายในสนามแข่งขันและเขตเล่นลูก) ถ้าถูกลูกบอลในขณะที่ทุกส่วนของลูกบอล
 
อยู่สูงกว่าขอบบนสุดของตาข่าย
20.3.1.3
 ตัวรับอิสระจะทำการเสิร์ฟ สกัดกั้นหรือพยายามทำการสกัดกั้นไม่ได้
20.3.1.4
 ขณะที่ตัวรับอิสระอยู่ในแดนหน้าแล้ว ใช้นิ้วเล่นลูกมือบนส่งลูกบอลมาให้เพื่อนร่วมทีมจะทำการ 
รุกลูกบอลที่อยู่สูงกว่าขอบบนของตาข่ายไม่ได้ แต่ถ้าตัวรับอิสระส่งลูกในลักษณะเดียวกันมาจากแดนหลัง
 
เพื่อนร่วมทีมที่สามารถทำการรุกได้อย่างเสรี
20.3.2
 การเปลี่ยนตัว
20.3.2.1
 การเปลี่ยนตัวที่เกี่ยวข้องกับตัวรับอิสระไม่นับจำนวนครั้งเหมือนกับการเปลี่ยนตัวตามปกติ กติกาข้อ 8
ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการเปลี่ยนตัวแต่ต้องมีการเล่นลูกคั่นหนึ่งครั้งก่อนการเปลี่ยนตัวของตัวรับอิสระครั้งต่อไปตัวรับอิสระสามารถเปลี่ยนตัวได้กับผู้เล่นที่ตัวรับอิสระลงไปเปลี่ยนตัวด้วยเท่านั้น
20.3.2.2
 การเปลี่ยนตัวทำได้ในขณะที่ลูกตายและก่อนสัญญาณนกหวีดให้ทำการเสิร์ฟเท่านั้น
20.3.2.3
 การเปลี่ยนตัวภายหลังสัญญาณนกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ แต่ก่อนที่ผู้เสิร์ฟจะทำการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินไม่ควรปฏิเสธ แต่ต้องตักเตือนด้วยวาจาภายหลังจากการเล่นลูกครั้งนั้นเสร็จสิ้นลงการเปลี่ยนตัวล่าช้าครั้งต่อ ๆ ไปต้องถูกทำโทษ
ในการถ่วงเวลา
20.3.2.4
 ตัวรับอิสระและผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวแทนกันจะเข้าและออกจากสนามได้ที่เส้นข้างตรงหน้าม้านั่งของทีมตนเอง
ระหว่างเส้นรุกถึงเส้นท้ายสนาม
20.3.3
 การแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่
20.3.3.1
 ถ้าตัวรับอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ได้ จากผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในสนามแข่งขัน ขณะขอทำการ
แต่งตั้งใหม่ และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่
 1 ตัวรับอิสระที่ได้บาดเจ็บจะลงเล่นในนัดนั้นอีกไม่ได้ ผู้เล่นที่ได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นตัวรับอิสระใหม่ต้องทำหน้าที่ตัวรับอิสระตลอดการแข่งขันนัดนั้น
20.3.3.2
 ถ้ามีการแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ ต้องบันทึกหมายเลขของผู้เล่นนั้นลงในช่องหมายเหตุของใบบันทึก
การแข่งขัน และในส่งตำแหน่งของเซตถัดไป
21.1 ความประพฤติของผู้มีน้ำใจนักกีฬา (SPORTMEN LIKE CONDUCT)
21.1.1
 ผู้ร่วมแข่งขันต้องมีความรู้เรื่อง “กติกาการแข่งขัน” และปฏิบัติตามกติกาที่กำหนด
21.1.2
 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินโดยไม่มีการโต้แย้งด้วยความประพฤติของผู้มีน้ำใจนักกีฬา
หากมีข้อสงสัยสามารถขอคำชี้แจ้งจากผู้ตัดสินได้โดยการให้หัวหน้าทีมในสนาม (
GAME CAPTAIN) เป็นผู้คำชี้แจ้ง
21.1.3
 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องละเว้นการแสดงท่าทางหรือทัศนคติใด ๆ ที่มุ่งหมายให้มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ตัดสินหรือปกปิดการทำผิดกติกา ของทีมตนเอง

21.2
 การเล่นที่ยุติธรรม (FAIR PLAY)
21.2.1
 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องแสดงความนับถือและความเอื้อเฟื้อทั้งต่อผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ คู่แข่งขัน 
เพื่อร่วมทีมและผู้ชม เพื่อมุ่งให้การแข่งขันเป็นไปอย่างยุติธรรม
21.2.2
 ระหว่างการแข่งขัน เพื่อนร่วมทีมสามารถให้คำแนะนำได้
22.1 การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง (MINOR MISCONDUCT)
การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง ไม่ต้องมีการทำโทษ ผู้ตัดสินที่
 1 ต้องทำหน้าที่ป้องกันทีมไม่ให้ผิดมารยาทจนใกล้ระดับของการถูกทำโทษ โดยการเตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือต่อผู้ที่ทำผิดมารยาทหรือต่อทีมผ่านทางหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN)
การเตือนนี้ไม่ใช่การทำโทษ ไม่นับต่อเนื่องและไม่มีการบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน

22.2
 การผิดมารยาทที่นำไปสู่การทำโทษ (MISCONDUCT LEADING TO SANCTION)
การทำผิดมารยาทของผู้เล่นต่อเจ้าหน้าที่ ทีมตรงข้าม เพื่อนรวมทีมหรือผู้ชม แบ่งได้เป็น
 3 ระดับ ตามความหนักเบาของความรุนแรง
22.2.1
 ความหยาบคาย ได้แก่ การกระทำใด ๆ ที่ไม่สุภาพไร้คุณธรรมและแสดงการดูหมิ่น
22.2.2
 การก้าวร้าว ได้แก่ การสบประมาท ใช้คำพูดหรือท่าทางเป็นการดูถูกเหยียดหยาม
22.2.3
 การใช้ความรุนแรง ได้แก่ การทำร้ายร่างกายหรือตั้งใจใช้ความรุนแรง

22.3
 ระดับการลงโทษ (SANCTION SCALE)
การลงโทษที่นำมาใช้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ตัดสินและความรุนแรงของการกระทำและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขันมีดังนี้
22.3.1
 การลงโทษ (PENALTY) การกระทำที่หยาบคายครั้งแรกในการแข่งขันโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีม จะถูกลงทาโดยเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น
22.3.2
 การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น (EXPULSION)
22.3.2.1
 ผู้เล่นซึ่งถูกลงโทษให้ออกจาการแข่งขันในเซตนั้นจะลงแข่งขันในเซตนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ต้อง
นั่งอยู่ในพื้นที่ลงโทษ (
PENALTY AREA) โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา ผู้ฝึกสอนที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ไม่มีสิทธิ์ทำหน้าที่ในเซตนั้น และต้องอยู่ในพื้นที่ลงโทษ
22.3.2.2
 การแสดงความก้าวร้าว (OFFENSIVE CONDUCT) ครั้งแรก โดยผู้ร่วมทีมคนใดคนหนึ่ง จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา
22.3.2.3
 การแสดงมารยาทหยาบคายครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดนั้นโดยผู้เล่นคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใด ตามมา
22.3.3
 การให้ออกจาการแข่งขันตลอกทั้งนัดนั้น (DISQUALIFICATION)
22.3.3.1
 ผู้เล่นที่ถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นต้องออกจากพื้นที่ควบคุมการแข่งขัน(CONPETITION CONTROL AREA) ในส่วนที่เหลืออยู่ของนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา
22.3.3.2
 การใช้ความรุนแรงครั้งแรกจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา
22.3.3.3
 การแสดงความก้าวร้าวครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดเดียวกัน โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดนัดนั้นโดยไม่มี เหตุผลใดตามมา
22.3.3.4
 การแสดงความหยาบคายครั้งที่ 3 โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันที่เหลืออยู่ตลอดการแข่งขันนัดนั้นโดยไม่มี เหตุผลอื่นใดตามมา

22.4
 การนำการทำโทษไปใช้ (APPLICATION OF MISCONDUCT SANCION)
22.4.1
 การนำโทษผิดมารยาทเป็นการลงโทษรายบุคคลและมีผลตลอดการแข่งขันนัดนั้น แลละจะถูกบันทึกลงในใบบันทึกรายการแข่งขัน
22.4.2
 การกระทำผิดมารยาทโดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันในการแข่งขันนัดเดียวกัน จะถูกลงโทษรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ(ผู้กระทำผิดจะถูกทำโทษสูงขึ้นทุกครั้งที่มีการกระทำผิดมารยาทเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง)(ตารางระดับการลงโทษผิดมารยาท)
22.4.3
 การให้ออกจากการแข่งขันเซตนั้น (EXPULSION) ออกจาการแข่งขันนัดนั้น (DISQUALIFICATION) ทำได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องมีการทำโทษใด ๆ มาก่อน แต่ขึ้นอยู่กับการแสดงความก้าวร้าวหรือการใช้ความรุนแรง

22.5
 การผิดมารยาทก่อนเริ่มต้นเซตและระหว่างเซต (MINCONDUCT BEFORE AND BETWEEN SET)
การผิดมารยาทที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะถูกลงโทษตามกติกาข้อ
 22.3 และมีผลในเซตถัดไป

22.6
 บัตรแสดงการทำโทษ (SANCTION CARDS)
เตือน ด้วยปากหรือสัญญาณมือ ไม่ใช้บัตร
ทำโทษ บัตรเหลือง
ออกจากการแข่งขันเซตนั้น บัตรแดง
ออกจาการแข่งขันนัดนั้น บัตรเหลืองแดง
23.1 องค์ประกอบ (COMPOSITION)
ฝ่ายทำหน้าที่ในการตัดสินแต่ละนัด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ต่อไปนี้
-
 ผู้ตัดสินที่ 1 
-
 ผู้ตัดสินที่ 2 
-
 ผู้บันทึก
-
 ผู้กำกับเส้น 4 คน (หรือ 2 คน)
ตำแหน่งในสนามของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแสดงไว้ในภาพที่
 1 สำหรับการแข่งขันในระดับโลกของสหพันธ์
วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการต้องมีผู้ช่วยผู้บันทึกการแข่งขันด้วย

23.2
 ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ (PROCEDURES)
23.2.1
 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 เท่านั้นที่สามารถเป่านกหวีดระหว่างการแข่งขันได้
23.2.1.1
 ผู้ตัดสินที่ 1 ให้สัญญาณการเสิร์ฟเพื่อเริ่มการเล่น
23.2.1.2
 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูก เมื่อแน่ใจว่ามีการทำผิดกติกาเกิดขึ้นและต้องแสดงลักษณะการกระทำผิดนั้น
23.2.2
 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดเมื่อลูกตายเพื่อแสดงว่าจะอนุญาตหรือปฏิเสธการขอหยุดเล่นของทีม
23.2.3
 ทีนทีหลังจากการเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องแสดงสัญญาณมือ
23.2.3.1
 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดระบุการกระทำผิด ผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดง
ก. ทีมที่ทำการเสิร์ฟ
ข. ลักษณะการกระทำผิด
ค. ผู้กระทำผิด (ถ้าจำเป็น)
ผู้ตัดสินที่
 2 จะทำซ้ำตามผู้ตัดสินที่ 1
23.2.3.2
 ถ้าผู้ตัดสินที่ 0 เป่านกหวีดแสดงการกระทำผิด ผู้ตัดสินที่ 2 จะแสดง
ก. ลักษณะการกระทำผิด
ข. ผู้กระทำผิด (ถ้าจำเป็น)
ค. ทีมที่จะทำการเสิร์ฟตามสัญญาณมือของผู้ตัดสินที่
 1
ในกรณีนี้ ผู้ตัดสินที่
 1 จะไม่แสดงลักษณะของการกระทำผิดและผู้กระทำผิด แต่จะแสดงเฉพาะทีมที่จะทำการเสิร์ฟเท่านั้น
23.2.3.3
 ถ้าทั้ง 2 ทีม กระทำผิดกติกาทั้งคู่ (DOUBLE FAULTS) ผู้ตัดสินทั้ง 2 จะแสดง
ก. ลักษณะของการกระทำผิด
ข. ผู้กระทำผิด (ถ้าจำเป็น)
ค. ทีมที่ทำการเสิร์ฟ ซึ่งชี้นำโดยผู้ตัดสินที่
 1
24.1 ตำแหน่ง (Location) 
ผู้ตัดสินที่
 1 ทำหน้าที่โดยนั่งหรือยืนบนม้าที่ตั้งไว้ปลายสุดด้านหนึ่งของตาข่าย ระดับสายตาต้องสูงกว่าขอบบนสุดของตาข่ายประมาณ 50 เซนติเมตร (รูปที่ 1 , 2 , 10)

24.2
 อำนาจหน้าที่ (AUTHORITY)
24.2.1
 ต้องควบคุมการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นสิ้นสุดการแข่งขัน มีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่และผู้ร่วมทีมทั้ง 2 ทีม 
ระหว่างการแข่งขันการตัดสินใจของผู้ตัดสินที่
 1 ถือเป็นสิ้นสุด มีอำนาจกลับคำตัดสินของเจ้าหน้าที่ทุกคน เมื่อเห็นว่าเจ้าหน้าที่นั้นผิดพลาด มีอำนาจเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสมได้
24.2.2
 ต้องควบคุมการทำงานของผู้กลิ้งบอล ผู้เช็ดพื้น (FLOOR WRERS) และผู้ถูกพื้น (MOPPERS) 
24.2.3
 มีอำนาจตัดสินใจไม่ว่าเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน รวมถึงเรื่องที่ไม่มีในกติกาด้วย
24.2.4
 ไม่ยอมให้มีการโต้แย้งใด ๆ ในการตัดสินอย่างไรก็ตาม ถ้าหัวหน้าทีมในสนามขอคำชี้แจง ผู้ตัดสินที่ 1 จะให้คำอธิบายการนำกติกามาใช้หรือตีความกติกา ซึ่งนำมาใช้ในการตัดสินนั้น ถ้าหัวหน้าทีมในสนามไม่เห็นด้วย
กับคำอธิบายของผู้ตัดสินที่
 1 และต้องการสงวนสิทธิยื่นหนังสือประท้วงเหตุการณ์นั้นอย่างเป็นทางการ เมื่อเสร็จ
สิ้นการแข่งขัน หัวหน้าทีมในสนามต้องขอสงวนสิทธิทันที และผู้ตัดสินที่
 1 ต้องยินยอมรับการประท้วงนั้น 
24.2.5
 รับผิดชอบการตัดสินใจก่อนหรือระหว่างการแข่งขันว่า พื้นที่เล่นลูก อุปกรณ์และสภาพใด ๆ พร้อมทำการแข่งขันได้ 

24.3
 ความรับผิดชอบ (RESPONSIBILITIES)
24.3.1
 ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 :
24.3.1.1
 ตรวจสภาพสนามแข่งขัน ลูกบอลและอุปกรณ์อื่น ๆ (บทที่ 1)
24.3.1.2
 ทำการเสี่ยงร่วมกับหัวหน้าทีมทั้ง 2 
24.3.1.3
 ควบคุมการอบอุ่นร่างกายของทีม 
24.3.2
 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 เท่านั้นที่มีอำนาจ
24.3.2.1
 ตักเตือนทีม 
24.3.2.2
 ทำโทษการผิดมารยาทและการถ่วง
24.3.2.3
 ตัดสินใจเรื่อง
ก. การผิดกติกาของผู้เสิร์ฟ ตำแหน่งของทีที่จะทำการเสิร์ฟ รวมทั้งการกำบังด้วย
 
ข. การผิดกติกาในการเล่นลูก
 
ค. การผิดกติกาเหนือตาข่ายและส่วนที่สูงขึ้นไปของตาข่าย
 
ง. การตบลูกบอลของผู้เล่นแดนหลังหรือตัวรับอิสระ
 
จ. การตบลูกที่ตัวรับอิสระส่งมาให้ด้วยมือบน (
SET) ในขณะที่อยู่ในแดนหน้า 
ฉ.ลูกบอลที่ข้ามแดนใต้ตาข่าย (กติกาข้อ
 9.4..5)
24.3.3
 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ต้องตรวจสอบและลงนามในโดยบันทึกการแข่งขัน
25.1 ตำแหน่ง (LOCATION)
ผู้ตัดสินที่
 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยยินใกล้เสานอกเขตสนามด้านตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 แต่หันหน้าเข้าหากัน

25.2
 อำนาจ (AUTHORITY)
25.2.1
 เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 แต่มีขอบเขตในการตัดสินเป็นของตนเองด้วย 
ถ้าผู้ตัดสินที่
 1 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ผู้ตัดสินที่ 2 จะทำหน้าที่แทน
25.2.2
 ให้สัญญาณมือแสดงการผิดกติกาที่นอกเหนืออำนาจการตัดสินที่ 2 โดยไม่เป่านกหวีด แต่ต้องไม่เน้นเตือนการกระทำผิดนั้นต่อผู้ตัดสินที่ 1 
25.2.3
 ควบคุมการทำงานของผู้บันทึกการแข่งขัน 
25.2.4
 ควบคุมผู้ร่วมทีมที่นั่งบนม้านั่ง และรายงานการผลิตมารยาทของผู้ร่วมทีมเหล่านี้ต่อผู้ตัดสินที่ 1 
25.2.5
 ควบคุมผู้เล่นในเขตอบอุ่นร่างกาย 
25.2.6
 อนุญาตให้หยุดการแข่งขัน ควบคุมเวลาและปฏิเสธการขอหยุดการ แข่งขันที่ไม่เหมาะสม 
25.2.7
 ควบคุมจำนวนครั้งที่แต่ละทีมขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัวและต้องรายงานการขอเวลานอกครั้งที่ 2 และขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ครั้งที่ 5 และ 6 ให้ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ฝึกสอนที่เกี่ยวข้องทราบ 
25.2.8
 กรณีที่ผู้เล่นบาดเจ็บ มีอำนาจให้ทำการเปลี่ยนตัวตามข้อยกเว้น หรืออนุญาตให้ทำการรักษาพยาบาล 3 นาทีก็ได้ 
25.2.9
 ตรวจสภาพพื้นสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตรุกระหว่างการแข่งขันต้องตรวจลูกบอลว่า คงสภาพถูกต้องสมบูรณ์ตามระเบียบการแข่งขันด้วย 
25.2.10
 ควบคุมผู้ร่วมทีมในพื้นที่ลงโทษ และรายงานการผิดมารยาทให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบ 

25.3
 ความรับผิดชอบ (RESPONSIBILITY)
25.3.1
 ตรวจตำแหน่งที่ถูกต้องของผู้เล่นในสนามให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งก่อนเริ่มต้นเล่นแต่ละเซต และเมื่อจำเป็นจะตรวจสอบตำแหน่งของผู้เล่นในสนามขณะนั้น ตามใบส่งตำแหน่ง
25.3.2
 ต้องตัดสินใจ เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือระหว่างการแข่งขันดังนี้
25.3.2.1
 การล้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามและที่ว่างให้ตาข่าย 25.3.2.2 ฝ่ายรับลูกเสิร์ฟผิดตำแหน่ง 
25.3.2.3
 ผู้เล่นถูกตาข่ายและเสาอากาศทางด้านข้างของสนามที่ผู้ตัดสินที่ 2 ยืนอยู่ 
25.3.2.4
 การสกัดกั้นที่ผิดกติกาของผู้เล่นแดนหลัง หรือการพยายามทำการสกัดกั้นโดยตัวรับอิสระ 
25.3.2.5
 ลูกบอลถูกสิ่งของนอกสนามหรือถูกพื้นสนามในขณะที่ผู้ตัดสินที่ 1 อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ 
25.3.3
 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันต้องลงชื่อในใบบันทึกการ
26.1 ตำแหน่ง (LOCATION)
ผู้บันทึกจะนั่งทำหน้าที่ ณ โต๊ะบันทึกการแข่งขันที่อยู่คนละดานของสนามกับผู้ตัดสินที่
 1 แต่หันหน้าเข้าหากัน

26.2
 ความรับผิดชอบ (RESPPONSIBILITIES)
บันทึกผลการแข่งขันตามกติกาการแข่งขันและร่วมมือกับผู้ตัดสินที่
 2 ต้องกดกริ่งหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียง
เป็นสัญญาณแจ้งผู้ตัดสินเมื่อมีเรื่องต้องรับผิดชอบเกิดขึ้น
26.2.1
 ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัดและแต่ละเซต ผู้บันทึกต้อง
26.2.1.1
 บันทึกข้อมูลการแข่งขันและของทีมตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน และต้องให้หัวหน้าทีมและผู้ฝึกสอน
ทั้งสองทีมลงนาม
26.2.1.2
 บันทึกตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของแต่ละทีมจากใบส่งตำแหน่ง ถ้าไม่ได้รับใบส่งตำแหน่ง ถ้าไม่ได้รับใบส่ง
ตำแหน่งตามเวลาที่ควรได้รับจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่
 2 ทราบทันที
26.2.1.3
 บันทึกหมายเลขและชื่อของตัวรับอิสระ
26.2.2
 ระหว่างการแข่งขัน ผู้บันทึกต้อง
22.2.2.1
 บันทึกคะแนนที่ได้และต้องแน่ใจว่าป้ายคะแนนแสดงคะแนนที่ถูกต้อง
26.2.2.2
 ควบคุมลำดับการส่งตำแหน่ง หากมีการผิดตำแหน่งเมื่อใดต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีหลัง
จากทำการเสิร์ฟแล้ว
26.2.2.3
 บันทึกการขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัวผู้เล่น ควบคุมจำนวนครั้งและแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบ
26.2.2.4
 ถ้าการขอหยุดการแข่งขันผิดกติกาต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ
26.2.2.5
 แจ้งการเสร็จสิ้นของแต่ละเซต การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของเวลานอกทางเทคนิคแต่ละครั้ง และคะแนนที่ 8 ในเซตตัดสินให้ผู้ตัดสินทราบ
26.2.2.6
 บันทึกการลงโทษทุกอย่างที่เกิดขึ้น
26.2.2.7
 บันทึกเหตุการณ์อื่น ๆ ที่ผู้ตัดสินที่ 2 แจ้ง เช่น การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น เวลาที่เริ่มการแข่งขันใหม่ การยึดเวลาหยุดการแข่งขัน การมีเหตุขัดขวางจากภายนอก เป็นต้น
26.2.3
 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละนัด ผู้บันทึกต้อง
26.2.3.1
 บันทึกผลสิ้นสุดของการแข่งขัน
26.2.3.2
 หากมรการประท้วงผู้ตัดสินที่ 1 อนุญาตไว้แล้ว ต้องเขียนหรืออนุญาตให้หัวหน้าทีมแจ้งเหตุของการประท้วงลงในใบบันทึก
26.2.3.3
 หลังจากลงนามในใบบันทึกแล้ว ต้องให้หัวหน้าทีมและผู้ตัดสินลงนามตามลำดับ
27.1 ตำแหน่ง (LOCATION)
ถ้าใช้ผู้กำกับเส้น
 2 คน จะยืนเป็นแนวเฉียงใกล้กับทางขวามือของผู้ตัดสิน แต่ละคนห่างจากมุมสนาม 1 - 2 เมตร 
ผู้กำกับเส้นทั้งสองจะควบคุมทั้งเส้นหลังและเส้นข้างทางด้านของตนเอง สำหรับการแข่งขันระดับโลกของ
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการต้องมีผู้กำกับเส้น
 4 คน ผู้กำกับเส้นจะยืนในเขต
รอบสนามห่างจากมุมสนามแต่ละมุม
 1 - 3 เมตร ตามแนวทางสมมติที่ต่อออกไปของเส้นที่แต่ละคนควบคุมอยู่

27.2
 ความรับผิดชอบ (RESPONAIBILITIES)
27.2.1
 ผู้กำกับเส้นปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ธงขนาด 40 x 40 เซนติเมตร ดังที่แสดงในรูปการให้สัญญาณ
27.2.1.1
 ให้สัญญาณลูก "ดี" ลูก "ออก" เมื่อลูกบอลตกลงบนพื้นสใกล้เส้นของแต่ละคน
27.2.1.2
 ให้สัญญาณว่าลูกถูกผู้เล่นของทีมที่เป็นฝ่ายรับแล้วลูกออกสนาม
27.2.1.3
 ให้สัญญาณเมื่อลูกบอลถูกเสาอากาศหรือลูกบอลทีเสิร์ฟข้ามตาข่ายนอกเขตที่กำหนดให้ข้ามตาข่ายเป็นต้น
27.2.1.4
 ให้สัญญาณถ้าผู้เล่นเหยียบนอกเขตสนามของตนเองขณะทำการเสิร์ฟ (ยกเว้นผู้เสิร์ฟเท่านั้น)
27.2.1.5
 ให้สัญญาณเมื่อเท้าของผู้เสิร์ฟผิดกติกา
27.2.1.6
 ให้สัญญาณเมื่อผู้เล่นถูกเสาอากาศขณะอยู่ในลักษณะเล่นลูกบอลหรือกีดขวางการเล่นลูกด้านสนาม
แข่งขันที่รับผิดชอบ
27.2.1.7
 ให้สัญญาณลูกข้ามตาข่ายนอกเขตข้ามตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้าม หรือถูกเสาอากาศทางด้านสนาม
แข่งขันที่รับผิดชอบ
27.2.2
 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ร้องขอ ผู้กำกับเส้นต้องแสดงสัญญาณซ้ำ
28.1 สัญญาณมือของผู้ตัดสิน (REFEREES' HAND SIGNALS)
ผู้ตัดสินต้องแสดงสัญญาณมือแสดงเหตุผลของการเป่านกหวีด (ที่เป่าเพื่อแสดงการกระทำผิด
 หรือเพื่อหยุดการแข่งขัน) 
ต้องแสดงสัญญาณค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง และถ้าแสดงสัญญาณด้วยมือข้างเดียวต้องใช้มือข้างเดียวกับทีมที่ทำผิดกติกา
หรือขอหยุดการแข่งขัน

28.2
 สัญญาณธงของผู้กำกับเส้น (LINE JUDGES' FLAG SIGNALS)
ผู้กำกับเส้นต้องแสดงสัญญาณธงตามลักษณะของการทำผิดกติกาที่เกิดขึ้นและต้องค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น