หน้าเว็บ

follow me

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วอลเลย์2


3.1 มาตรฐาน (STANDARD)
ลูกบอลต้องกลม ทำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอลทรงกลมที่ทำด้วยยาง หรือวัสดุ
ที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อน ๆ เหมือนกันทั้งลูก หรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ ลูกบอลซึ่งทำด้วย
วัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐาน
ตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติกำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 260 – 280 กรัม

3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS)
ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง น้ำหนัก แรงอัด ชนิดและสีตามาตรฐานเดียวกัน การแข่งขันระดับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้อง
ใช้ลูกบอลที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

3.3 ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก (THREE – BALL SYSTEM)
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งบอล 6 คน ประจำที่มุมของเขตรอบสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และข้างหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
4.1 ส่วนประกอบของทีม (TEAM COMPOSITION)
4.1.1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1คน และแพทย์ 1คน
สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ต้องขึ้นทะเบียน
กับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อนการแข่งขัน
4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ (LIBERO PLAYER) ต้องเป็นหัวหน้าทีมและจะระบุไว้ในใบบันทึกการแข่งขัน
4.1.3 ผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในใบบันบันทึกการแข่งขันเท่านั้นจึงจะลงสนามและร่วมการแข่งขันได้ เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นอีกไม่ได้

4.2 ตำแหน่งที่อยู่ของทีม (LOCATION OF THE TEAM)
4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งม้านั่งหรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่น
ต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งเป็นครั้งคราว ม้านั่งของทีมตั้งอยู่ข้าง ๆ โต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม
4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งม้านั่งระหว่างการแข่งขันและร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน
4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช่ลุกบอลได้ดังนี้
4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขันในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย
4.2.3.2 ระหว่างขอเวลานอกและเวลาเทคนิคในเขตรอบสนามด้านหลังแดนของทีมตนเอง
4.2.4 ช่วงพักระหว่างเชต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอลได้ในเขตรอบสนามของทีมตนเอง

4.3 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT)
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอยด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน) และรองเท้า
4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และถุงเท้าต้อง เหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ LIBERO PLAYER) และสะอาด
4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือหนังไม่มีส้น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการในรุ่นที่ไม่กำจัดอายุสีรองเท้าต้องเป็นสีเดียวกันทั้งทีม แต่เครื่องหมาย
การค้าอาจมีสีแตกต่างกันได้ เสื้อและกางเกงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีเครื่องหมาย 1 – 18
4.3.3.1 ต้องติดเครื่องที่กลางอกและกลางหลังสีของเครื่องหมายเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลังอย่างน้อยที่สุด 20 เซนติเมตร และความกว้างของแถบที่ทำหมายเลข ต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 1 เซนติเมตร
4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบยาว 8 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขตรงอกเสื้อ
4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้อง หรือชุที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น

4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (CHANGE OF EQUIPMENT)
ผู้ตัดสินคนที่ 1 มีอำนาจที่จะให้ผู้เล่น 1 คน หรือมากกว่า
4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่สวมรองเท้าก็ได้
4.4.2 เปลี่ยนชุดที่เปียกช่วงพักระหว่างเชต หรือหลังจากการเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนับชุดเดิม
4.4.3 สวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้ ถ้าอากาศหนาว ถ้าสีและแบบของชุควอร์ม
เหมือนกันทั้งทีม และหมายเลขต้องเป็นไปตามปกติ
4.5 สิ่งที่ห้ามสวมใส่ (FORBIDDEN OBJECTS)
4.5.1 ห้ามสวมใส่สิ่งของซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น
4.5.2 ผู้เล่นอาจสวมแว่นตาหรือคอนเทคเลนซ์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
ทั้งหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอนเป็นผผู้รับผิดชอบความประพฤติและระเบียบวินัยของผู้ร่วมทีม
ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีมไม่ได้
5.1 หัวหน้าทีม (CAPTAIN)
5.1.1 ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าทีมเป็นผู้ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันและเป็นผู้แทนของทีมในการเสี่ยง
5.1.2 ระหว่างการแข่งขันและขณะอยู่ในสนามแข่งขันหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ผู้นำในการแข่งขัน เมื่อหัวหน้าทีมไม่ได้เล่นอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมต้องแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งที่อยู่ในสนาม แต่ต้องไม่ไช่
ตัวรับอิสระ ทำหน้าที่หัวหน้าทีมในการแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และต้องรับผิดชอบไปจนกว่าหัวหน้าทีม
(TEAM CAPTAIN) จะเปลี่ยนตัวมาลงเล่นอีกหรือจนกว่าจะสิ้นสุดเซตนั้นเมื่อลูกตาย หัวหน้าทีมในการแข่งขันเท่านั้น
ที่มีสิทธิเป็นผู้แทนของผู้เล่นทั้งหมดพูดกับผู้ตัดสิน เพื่อ
5.1.2.1 ขอคำอธิบายในการตีความกติกาหรือนำกติกามาใช้และร้องขอหรือถามคำถามของเพื่อนร่วมทีม ถ้าคำอธิบาย
ไม่เป็นที่พอใจ หัวหน้าในการแข่งขันต้องประท้องการตัดสินนั้นและสงวนสิทธิบันทึกการประท้องอย่างเป็นทางการ
ในใบบันทึกการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันจบสิ้นลง
5.1.2.2 ขอสิทธิ
ก. เปลี่ยนชุดหรืออุปกรณ์การแข่งขันบางส่วนหรือทั้งหมด
ข. ตรวจตำแหน่งผู้เล่นของทีม
ค. ตรวจพื้นสนาม ตาข่าย และลูกบอล
5.1.2.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.1.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันหัวหน้าทีมต้อง
5.1.3.1 แสดงความขอบคุณผู้ตัดสินและลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันการประท้องอย่างเป็นทางการต่อผู้ตัดสินเกี่ยวกับการนำกติกาใช้หรือตีความกติกาลงในใบบันทึกการแข่งขัน

5.2 ผู้ฝึกสอน (COACH)
5.2.1 ตลอดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ควบคุมการเล่นของทีมภายในสนามแข่งขัน เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนทำหน้าที่ดังกล่าวได้โดยขอผ่านทางผู้ตัดสินที่ 2
5.2.2 ก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้องบันทึกหรือตรวจสอบรายชื่อและหมายเลขของผู้เล่นในใบบันทึกการแข่งขัน
5.2.3 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้อง
5.2.3.1 ยืนใบส่งตำแหน่งของผู้เล่นที่ลงชื่อแล้ว ให้ผู้ตัดสินหรือผู้บันทึกก่อนการแข่งขันทุกเซต
5.2.3.2 นั่งม้านั่งของทีมซึ่งใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุดแต่อาจลูกจากม้านั่งได้เป็นครั้งคราว
5.2.3.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.2.3.4 ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้ร่วมทีมอื่น ๆ อาจให้คำแนะนำผู้เล่นในสนามได้ โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำผู้เล่นใน
สนามได้โดยผู้ฝึกสอนอาจให้คำแนะนำขณะที่ยืนหรือเดินภายในเขตเล่นลูก (FREE ZONE) ด้านหน้าของม้านั่ง
ผู้เล่นสำรองตั้งแต่แนวที่ยื่นออกมาของเส้นรุกจนถึงพื้นที่อบอุ่นร่างกายแต่ต้องไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน

5.3 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (ASSISTANT COACH)
5.3.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะหยุดการแข่งขัน
5.3.2 ถ้าผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอาจทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแทนได้ โดยการขออนุญาตของหัวหน้าทีมในขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินที่ 1
6.1 การได้คะแนน (TO SCORE A POINT)
6.1.1 คะแนน ทีมได้คะแนนเมื่อ
6.1.1.1 ทำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม
6.1.1.2 ทีมตรงข้ามทำผิดกติกา
6.1.1.3 ทีมตรงข้ามถูกลงโทษ
6.1.2 การทำผิดกติกา ทีมทำผิดกติกาเมื่อลักษณะของการเล่นตรงข้ามกับกติกาการแข่งขัน
(หรือขัดแย้งกับกติกาโดยวิธีอื่นใด) ผู้ตัดสินจะตัดสินการการกระทำผิดและตัดสินใจดำเนินการตามกติกา ดังนี้
6.1.2.1 ถ้ามีการเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จะลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น
6.1.2.2 ถ้าทั้งสองทีมเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าพร้อม ๆ กันทั้งสองทีม จะถือว่าเป็นการกระทำผิดทั้งคู่ และจะเล่นลูกนั้นใหม่
6.1.3 ผลที่ตามมาเมื่อชนะการเล่นลูก การเล่นลูกเป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ จนกระทั้งลูกตาย 6.1.3.1 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ
6.1.3.2 ถ้าทีมที่เป้นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูกจะได้คะแนนและได้เสิร์ฟในครั้งต่อไป

6.2 การชนะในแต่ละเซต (TO WIN A SET)
ทีมที่ทำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุก 2 คะแนน จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น ถ้าทำได้ 24 คะแนนเท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งอย่างน้อยที่สุด 2คะแนน

6.3 การชนะการแข่งขันแต่ละนัด (TO WIN THE MATCH)
6.3.1 ทีมที่ทำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น
6.3.2 ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนนำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อย 2 คะแนน

6.4 ทีมที่ผิดระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (DEFAULT AND INCOMPLETE TEAM)
6.4.1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้งว่าทำผิดระเบียบการแข่งขัน และปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0 – 3 เซต คะแนน 0 – 25 ในแต่ละเซต
6.4.2 ทีมที่ไม่ปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.1
6.4.3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่งหรือการแข่งขันเซตใดเซตหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนและเซตเพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการแข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนนและเชตที่ทำไว้
7.1 การเสี่ยง (TOSS)
ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะทำการเสิร์ฟก่อนหรืออยู่แดนใด ในเซตที่ 1
ถ้าต้องการแข่งขันเซตตัดสินจะต้องทำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
7.1.1 การเสี่ยงต้องทำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย
7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะสิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
7.1.2.1 เลือกเสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟ
7.1.2.2 เลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ
7.1.3 ในกรณีที่ทำการอบอุ่นร่างกายมาพร้อมกัน ทีมที่ทำกาเสิร์ฟก่อนจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน

7.2 การอบอุ่นร่างกาย (WARM-UP SESSION)
7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุ่นร่างกายที่จัดไว้ให้แล้ว แต่ละทีมจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายได้ทีมละ 5 นาที
7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมทั้งสองตกลงทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันจะอบอุ่นร่างกายได้ 6 นาที หรือ 10 นาที

7.3 ตำแหน่งการเริ่มต้นของทีม (TEAM STARTING LINE-UP)
7.3.1 ทีมต้อมีผู้เล่น 6 คนเสมอ ในการแข่งขันตำแหน่งเริ่มต้นของทีม แสดงถึงลำดับการหมุนตำแหน่งของผู้เล่นในสนามลำดับนี้ตะคงอยู่ตลอดเวลานั้น
7.3.2 ก่อนการเริ่มแข่งขันแต่ละเซตผู้ฝึกสอนต้องแจ้งตำแหน่งเริ่มต้นเล่นทีมของตนเองในใบส่งตำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อกำกับแล้ว ส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขัน
7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของทีม จะเป็นผู้เล่นสำรองในเซตนั้น
7.3.4 เมื่อใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นเล่น ถูกนำส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขันแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งตำแหน่งอีก นอกจากต้องการทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติ
7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งตำแหน่งกับตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
7.3.5.1 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งโดยไม่มีการลงโทษ
7.3.5.2 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นเปลี่ยนที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบส่งตำแหน่ง ยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องของเปลี่ยนตัวตามปกติและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน

7.4 ตำแหน่ง (POSITIONS)
ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเองตามลำดับการหมุมตำแหน่ง
7.4.1 ตำแหน่งของผู้เล่นจำแนกได้ดังนี้
7.4.1.1 ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน ที่อยู่ใกล้ตาข่ายเป็นผู้เล่นแถวหน้าอยู่ในตำแหน่งที่ 4 ตำแหน่งที่ 3 และตำแหน่งที่ 2
7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผู้เล่นแถวหลังอยู่ในตำแหน่งที่ 5 ตำแหน่งที่ 6 ตำแหน่งที่ 1
ตำแหน่งของผู้เล่นจะถือตำแหน่งของเท้าที่แตะพื้น เป็นเครื่องหมายกำหนด     
7.4.2 ความเกี่ยวข้องของตำแหน่งระหว่างผู้เล่น
7.4.2.1 ผู้เล่นแถวหลังแต่ละคนต้องมีตำแหน่งอยู่ด้านหลังทั้งคู่ของตนเองที่เป็นผู้เล่นแถวหน้า
7.4.2.2 ผู้เล่นแถวหน้าและแถวหลังแต่ละคู่ต้องอยู่ในตำแหน่งข้างเดียวกันตามลำดับการหมุนตำแหน่งที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 7.4.1
7.4.3 ตำแหน่งของผู้เล่นจะพิจารณาและควบคุมจากตำแหน่งของเท้าที่สัมผัสพื้น ดังนี้
7.4.3.1 ผู้เล่นแถวหน้าแต่ละคนต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของรองเท้าอยู่ใกล้เส้นแบ่งแดนมากกว่าเท้าของผู้เล่นแดนตน
7.4.3.2 ผู้เล่นที่อยู่ทางขวา (หรือทางซ้าย) ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าใกล้กับเส้นทางขวา (หรือซ้าย) มากกว่าผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่งกลางของแถวเดียวกัน
7.4.4 เมื่อทำการเสิร์ฟลูกบอลออกไปแล้ว ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ในแดนและเขตรอบสนามตน

7.5 การผิดตำแหน่ง (POSITIONAL FAULT)
7.5.1 ทีมจะผิดตำแหน่ง ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล
7.5.2 ถ้าผู้เสิร์ฟเสิร์ฟผิดกติกาขณะที่ทำการเสิร์ฟ จะถือว่าการเสิร์ฟผิดปกติเกิดขึ้นก่อนการผิดตำแหน่งของทีมตรงข้าม
7.5.3 ถ้าการเสิร์ฟผิดกติกาหลังจากทำการเสิร์ฟออกไปแล้ว จะถือว่าการผิดตำแหน่งเกิดขึ้นก่อน
7.5.4 การทำผิดตำแหน่งจะมีผลตามมาดังนี้
7.5.4.1 เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น
7.5.4.2 เปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง

7.6 การหมุนตำแหน่ง (ROTATION)
7.6.1 ลำดับการหมุนตำแหน่งจะเป็นไปตามใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นของทีมและควบคุมด้วยลำดับการเสิร์ฟและ
ตำแหน่งของผู้เล่นตลอดทั้งเซต
7.6.2 เมื่อทีมที่รับลูกเสิร์ฟได้สิทธ์ในการทำเสิร์ฟ ผู้เล่นต้องหมุนต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกาไป 1 ตำแหน่ง

     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๒ หมุนไปตำแหน่งที่ ๑ เพื่อทำการเสิร์ฟ
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๑ หมุนไปตำแหน่งที่ ๖
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๖ หมุนไปตำแหน่งที่ ๕
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๕ หมุนไปตำแหน่งที่ ๔
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๔ หมุนไปตำแหน่งที่ ๓
     ผู้เล่นตำแหน่งที่ ๓ หมุนไปตำแหน่งที่     

7.7 การหมุนตำแหน่งผิด (ROTATIONAL FAULT)
7.7.1 การหมุนตำแหน่งผิดเกิดขึ้นเมื่อ การเสิร์ฟไม่เป็นไปตามตำแหน่งการหมุนตำแหน่ง และมีผลตามมาดังนี้
7.7.1.1 เป็นฝ่ายแพ้ในเล่นลูกครั้งนั้น
7.7.1.2 ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง
7.7.2 นอกจากนั้น ผู้บันทึกต้องตัดสินใจหยุดการแข่งขันทันทีที่มีการผิดตำแหน่ง และยกเลิกคะแนนที่ได้ทำทั้งหมด
ขณะที่ผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของที่ทำได้ทั้งหมดขณะผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้คงเดิม
ถ้าคะแนนขณะผิดตำแหน่งไม่สามารถตรวจพบได้ให้ลงทาเพียงเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้นเท่านั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น